ระกำ
ชื่ออื่น ๆ : สะละ, สะลัก (มลายู), สละ (ไทย), ซาเลา (มลายู-นรา), ระกำกอก, กำ (ใต้)ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca rumphii, S. edulis
วงศ์ : PALMAE
ลักษณะทั่วไป :
- ต้น : เป็นพรรณไม้ปาล์มชนิดหนึ่ง ที่แตกหน่อออกมาเป็นกอ มีลำต้นอยู่ใต้ดิน นอกจากต้นทีแก่ ๆ เท่านั้นจะมีลำต้นสูงขึ้นมาเหนือผิวดิน และโดยทั่วไปแล้วจะสูงไม่เกิน 2 เมตรตามลำต้น และกิ่งก้านจะเต็มไปด้วยหนามยาว และแข็งปกคลุม
- ใบ : จะแตกใบออกเป็นกอใหญ่ เป็นสีเขียวแก่ ทางใบนั้นจะยาวมีลักษณะคล้ายกับใบขนนก ก้านใบจะมีแต่หนาม ใบนั้นจะออกเป็นช่อ ๆ ใบย่อยจะเรียกกันตามก้านช่อ ซึ่งใบย่อยนี้จะมีความยาวประมาณ 2 ฟุต และกว้างประมาณ 2 นิ้ว มีใบดกมาก
- ดอก : เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือเพศผู้กับเพศเมีย จะไม่อยู่ในดอกเดียวกัน แตกดอกตรงระหว่างโคนก้านใบ
- ผล : เมื่อดอกร่วงโรย จะกลายเป็นผลรวมกันเป็นกระจุก แบบทะลาย ลักษณะของผลกลมโต ตรงปลายผลแหลม
- เปลือกผลจะเป็นเกล็ด ผลทีอ่อนจะมีสีน้ำตาล พอผลแก่หรือสุกก็จะเป็นสีแดงสด ใช้กินได้ ผลจะมีรสเปรี้ยวบ้าง หวานบ้างแล้วแต่พรรณนั้น
ส่วนที่ใช้ : ผล และแก่น ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
- ผล ใช้กินเป็นยารักษาอาการไอ และขับเสมหะ
- แก่น จะมีรสขมหวาน ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาเลือด รักษากำเดา และรักษาอาการไข้สำประชวร
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาเลเซียอินโดนีเซีย และในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น