ถ่อน

ถ่อน

อื่น ๆ : ทิ้งถ่อน, ถ่อน, ถินถ่อน, นมหวา นุมหวา (ไทยภาคกลาง), แซะบ้อง, เซะบ้อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อสามัญ : White Siris
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia procera (Roxb.) Benth.
วงศ์ : MIMOSEAE

ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่ปลูกกันตามข้างถนน ลำต้นเป็นสีขาวนวล ผิวเกลี้ยง มีขนาดเท่าต้นก้ามกราม
  • ใบ : ลักษณะใบก็คล้ายกับใบก้ามกราม
  • ดอก : ดอกนั้นก็เช่นเดียวกันคล้ายกับดอกก้ามกราม
  • ผล : ผลนั้นจะออกเป็นฝัก มีลักษณะแบนและใหญ่
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก เปลือกต้น ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ใบ นำไปเผาไฟแล้วผสมกับน้ำยาสูบฉุน ๆ ละลายปูนขาวข้น ๆ ใช้ฉีดฆ่าตัวสัตว์และหนอนได้ดีมากเปลือก นำไปต้มกับรากมะตูม รักษาอาการท้องร่วงและอาเจียน
  • เปลือกต้น ใช้เป็นยารักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงธาตุ รักษาธาตุพิการและใช้ขับลมผาย
  • รากหรือแก่น นำไปต้มกินรักษาอาการท้องอืด บรรเทาอาการเจ็บหลัง เจ็บเอว และเส้นท้องตึง
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีในภาคเหนือและภาคกลาง และในกรุงเทพฯ ก็มีปลูกกันบ้างประปราย เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามป่าหญ้าหรือป่าโปร่ง ในที่ต่ำน้ำท่วมถึง

 

กระดอม

กระดอม

ชื่ออื่น : ขี้กาดง ขี้กาน้อย(สระบุรี) ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้กาลาย (นครราชสีมา) ผักแคบป่า (น่าน) มะนอยจา (ภาคเหนือ) มะนอยหก มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน) ผักขาว (เชียงใหม่) ดอม (นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะทั่วไป :
  • ผลอ่อนแห้งสีน้ำตาล มีลักษณะภายนอกเป็นผลรูปคล้ายกระสวยหรือรูปรี แหลมหัวท้าย ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร เส้นรอบวง 5-7 เซนติเมตร ผิวสาก มีสัน 10 สัน มีเนื้อสีน้ำตาล เมล็ดรูปรี มีจำนวนมาก เป็นริ้ว ๆ สีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นฉุน
สรรพคุณ:
  • ตำรายาไทย: น้ำต้ม เมล็ด รับประมานเป็นยาลดไข้ แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกินผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ถอนพิษจากพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุงธาตุ รักษาโรคในการแท้งลูก
  • ผล บำรุงน้ำดี ผลอ่อน รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ คลั่งเพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย เจริญอาหาร แก้สะอึก ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้ รักษามดลูกหลังการแท้ง หรือการคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
  • ทั้งห้าส่วน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ รักษามดลูกหลังจากการคลอดบุตร เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน
ข้อควรระวัง: ผลอ่อนกินได้ ผลแก่และผลสุกมีพิษห้ามรับประทาน

 

 

กระทืบยอด

กระทืบยอด

ชื่ออื่น ๆ: กะทืบยอด กะทืบยอด (ภาคกลาง); จิยอบต้นตาล (ภาคเหนือ); นกเขาเง้า (โคราช); ทืบยอด (สุราษฎร์); เนี้นซัวเช้า (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Biophytum sensitivum (L.) DC.
วงศ์: OXALIDACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น: เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ประเภทเดียวกับต้นหญ้า ลักษณะของลำต้นตรงเป็นปล้องข้อ มีสีแดงเรื่อ ลำต้นสูงประมาณ 10-15 ซม. มีขนาดโตเท่ากับก้านไม้ขีดไฟ
  • ใบ: ลักษณะของใบเป็นใบที่มีขนาดเล็กฝอยเหมือนกับใบกระถิน ก้านใบจะแผ่แบน รวมกันอยู่บนยอด เหมือนกับร่มที่กาง
  • ดอก: ดอกออกเป็นจุก บริเวณบนยอดลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก มีสีเหลืองสด
การขยายพันธุ์: เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณที่ชื้นทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้: ลำต้น ราก
สรรพคุณ:
  • ลำต้น เป็นยาแก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ แก้กาฬ แก้สะอึก ใช้ถอนพิษเบื่อเมา วิธีใช้โดย การนำมาต้มเอาน้ำดื่ม
  • ราก แก้โรคหนองใน แก้นิ่ว


เฉียงพร้ามอญ

เฉียงพร้ามอญ

ชื่ออื่น ๆ : กระดูกไก่ดำ (ทั่วไป), กุลาดำ, บัวลาดำ (ภาคเหนือ), แสนทะแมน, ปองดำ (ตราด),กระดูกดำ (จันทบุรี), เฉียงพร้า (สุราษฎร์ธานี), เฉียงพร้าบ้าน, สันพร้ามอญ, ผีมอญ, เฉียงพร้าม่าน, เกียงพา, สำมะงาจีน (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gendarussa vulgaris Nees.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นสีของลำต้นนั้นเป็นสีม่วง สูงประมาณ 1 เมตร
  • ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปหอกแคบ ปลายใบและโคนใบจะแหลม เส้นกลางใบเป็นสีม่วง ขนาดของใบนั้นกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว หรืออาจจะกว่านี้เล็กน้อย ยาว 3-4.5 นิ้ว มีก้านใบสั้น
  • ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น หรือตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะยาประมาณ 3 นิ้ว ลักษณะของดอกนั้นเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายดอกจะแยกออกเป็นกลีบ ซึ่งมีกลีบล่างและกลีบบน กลีบล่างนั้นจะโค้งงอเหมือนช้อน ส่วนกลีบบนจะตั้งกลีบดอกมีสีขาวอมเขียวประด้วยสีชมพู เกสรกลางดอกมี 2 อัน
  • ผล : เป็นฝัก ยาวประมาณ 0.5 นิ้ว
การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด นิยมปลูกเป็นรั้วตามบ้าน
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก
สรรพคุณ :
  • ใบ ในแต่ละประเทศนั้นจะใช้ใบรักษาไม่เหมือนกันแต่ก็ได้ผลไม่น้อยเลย เช่นในอินเดียได้นำใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่มแก้ปวดหัว, มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีวิธีใช้เหมือนกัน นำใบมาตำผสมกับเมล็ดเทียนแดงและหัวหอม ใช้พอกแก้ปวดหัว หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำทาแก้ปวดท้อง ปวดตามข้อ ถ้าต้มกับน้ำจะเป็นยาบำรุงโลหิตได้, ในฟิลิปปินส์ใช้ใบต้มกับนมทานแก้ฝีฝักบัวและแก้ท้องร่วงอย่างแรง หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำดื่มแก้โรคหืดและไอ, ส่วนไทยเรานี้เอาใบตำผสมกับเหล้าคั้นเอาน้ำทานแก้ไข้ ลดความร้อน เป็นยาถอนพิษและเอากากที่เหลือนั้นพอกแผลดูดพิษที่ถูกอสรพิษกัดได้
  • ราก ใช้ทาเด็กที่เป็นเม็ดเป็นตุ่มขึ้นตามตัว

 

ครอบจักรวาฬ

ครอบจักรวาฬ

ชื่ออื่น ๆ : ครอบ, ครอบจักรวาฬ, ตอบแตบ,บอบแปบ,มะก่องเข้า (พายัพ),ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง ( โคราช ) , ครอบตลับ ครอบฟันสี, หญ้าขัดหลวง, หญ้าขัดใบป้อม, ขัดมอนหลวง
ชื่อสามัญ : Country mallow, Indian mallow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon indicum (L.) Sweet
วงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล
  • ใบ : ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล
  • ดอก : ดอกจะโตประมาณ 2 – 3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง
  • ผล : ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบ ๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีขี้นมากทางภาคเหนือ ในระดับสูงตั้งแต่ 1,500 เมตร และในภาคกลางก็มีปลูกบ้าง
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน
  • ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
  • เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก
  • รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง
  • เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง
ตำรับยา :
  • แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้  ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน
  • แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล
  • แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
  • แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน
  • แก้คอตีบ ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน
  • แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน
  • ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ
  • แก้บิดมูกเลือด ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
  • แก้ฝีฝักบัว ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล

 

 

หญ้าไข่เหา

หญ้าไข่เหา

ชื่อสามัญ    หญ้าไข่เหา ( ลำปาง )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชค้างปี (annual) พบขึ้นอยู่ตามชายป่า ใต้ที่ร่มและชุ่มชื้น มีกิ่งแขนงแตกออกจากซอกใบจำนวนมาก ลำต้นทอดเลื้อยปลายยอดตั้งชันขึ้น (ascending) ความสูงของต้น 71.28- 145.18 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.95- 7.67 มิลลิเมตร ลำต้นกลมและค่อนข้างเหนียว สีเขียวเข้มผิวมัน มีขนสีขาวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตรปกคลุมจำนวนมาก ข้อ (node) สีเขียวมีขนสีขาวคลุมรอบๆหนาแน่น ลักษณะของข้อพองออกเล็กน้อย ข้อที่แตะดินไม่มีรากงอก ใบเป็นแบบรูปใบหอก (lanceolate) โคนใบมน แผ่นใบกว้าง ปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ใบยาว 23.29- 27.43 เซนติเมตร กว้าง 1.62- 1.96 เซนติเมตร เส้นกลางใบ (mid rib) ด้านหน้าใบจากโคนใบถึงกลางใบเป็นร่องเห็นชัดเจน ด้านหลังใบเป็นสันเล็กค่อนข้างแข็ง สีใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหนาและนุ่ม มีขนสีขาวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยถี่ (serrulate) กาบใบ (sheath) สีเขียวเข้มมีขนคลุมจำนวนมาก บริเวณขอบกาบใบมีขนยาว 3-4 มิลลิเมตรขึ้นอยู่จำนวนมาก กาบใบกลมหุ้มลำต้น ความยาวกาบใบ 5.66- 7.66 เซนติเมตร ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นเยื่อขอบลุ่ยเป็นเส้นๆ (membranous frayed) ยอดอ่อนโผล่แบบม้วน (rolled in bud) ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง (panicle) ช่อดอกมีช่อดอกย่อยจำนวนมาก กลุ่มดอกดกหนาแน่น ช่อดอกสดสีเขียวอมเหลืองอ่อนมีน้ำเหนียวจับจะติดมือ ช่อดอก (inflorescence) ยาว 21.0- 35.3 เซนติเมตร ส่วน Head ยาว 19.5- 26.5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยยาว 7.13- 11.53 เซนติเมตร กลุ่มดอกย่อย (spikelet) เกาะกันอยู่เป็นคู่ๆ มีก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลุ่มดอกย่อยรูปรี ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีกาบหุ้ม (glume) บนยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร glume ล่างยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร glume บนมีดอก (floret) ที่มี lemma และ palea หุ้มเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (fertile) floret ล่างเป็นดอกหมัน (sterile) ดอกแก่ร่วงทั้งชุด
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ใน ที่ร่มเงาและชุ่มชื้น ริมหนองน้ำ ดินร่วน ร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 124- 442 เมตร เช่นเขตพื้นที่ตำบลบ้านโป่ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล (PC 386, PC 585, SN 43 )
คุณค่าทางอาหาร  อายุประมาณ 40 วัน มีค่า โปรตีน 12.90 เยื่อใยส่วน ADF 31.60 NDF 56.72 แคลเซียม 0.66 ฟอสฟอรัส 0.25 โปแตสเซียม 1.82 มิโมซีน 0.89 ไนเตรท 36.62 ppm. กรดออกซาลิค 0.82 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.50 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของ โค กระบือ ปลูกขึ้นปรับตัวได้ดีในสภาพดินเหนียวเนื้อละเอียดและดินเหนียวปนลูกรัง

 

 

ระย่อม

ระย่อม

ชื่ออื่น ๆ : กะย่อม (ใต้), เข็มแดง, ย่อมตีนหมา (เหนือ-พายัพ), กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละย่อม(สุราษฎร์), ตูมคลาน, มะโอ่งที, คลาน, สะมออู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz
วงศ์ :   Apocynaceae
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลำต้นจะมีความสูงไม่เกิน 60 ซม. เปลือกจะเป็นสีขาว และมีน้ำยางสีขาว จะผลัดใบในฤดูแล้ง และจะผลิใบใหม่ในฤดูฝน ส่วนดอกนั้นจะออกต้นฤดูหนาว
  • ใบ : จะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบจะเป็นรูปรีแกมรูปหอก ตรงปลายใบแหลม ใบจะมีความกว้างประมาณ 1.5-10 ซม. และมีความยาวประมาณ 5-21 ซม.
  • ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาว ชมพู หรือสีแดง ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็ม ก้านดอกจะเป็นสีแดง มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ มีลักษณะเป็นหลอโค้งเล็กน้อย
  • ผล : ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีดำ ผลนั้นจะมีลักษณะเป็นผลแฝดติดกันตรงโคนด้านใน และจะอุ้มน้ำ ผลจะมีความยาวประมาณ 1-1.8 ซม.
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : รากสด รากแห้ง น้ำจากใบ ดอก เปลือก
สรรพคุณ :
  • รากสด : เป็นยารักษาหิด
  • รากแห้ง : เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร
  • ดอก : แก้โรคตาแดง
  • น้ำจากใบ : ใช้รักษาโรคแก้ตามัว
  • เปลือก : แก้ไข้พิษ
  • กระพี้ : บำรุงโลหิต

 

 

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ชื่ออื่น ๆ : กล่ำตาไก่, มะกล่ำเครือ, กล่ำเครือ, มะแค้ก, มะกล่ำแดง (ภาคเหนือ-เชียงใหม่), ชะเอมเทศ, ตากล่ำ (ภาคกลาง), เกมกรอม (สุรินทร์), มะขามเถา, ไม้ไฟ (ตรัง), โทวกำเช่า, เซียงจือจี้ (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : American Pea, Prayer Beads, Rosary. Pea, Crab is Eye Vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abrus precatorius Linn.
วงศ์ : PAPILIONACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้เถา มีลำต้นเล็กยาว ลำต้นมีขนสั้น ๆ ขึ้นประปราย
  • ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันคล้ายขนนก ยาวประมาณ 1.5-4 นิ้ว ใบย่อยออกเรียงกันประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรี หรือกลมยาว ปลายใบแหลมมน โคนใบกลมมน ริมขอบใบเรียบ พื้นผิวใบเกลี้ยง ใบมีขนาดยาวประมาณ 5-20 มม. กว้างประมาณ 3-8 มม. ใต้ท้องใบมีขนขึ้นเล็กน้อย
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุกแน่นติดกัน ซึ่งออกตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวเรียงซ้อนกันไปตามเข็มนาฬิกา กลีบมีรอยหยัก 4 รอย มีสีขาว ผิวข้างนอกมีขนนุ่มปกคลุม มีความยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกด้านล่างมีกลีบแหลมเล็กอยู่ 3 กลีบ กลีบด้านบนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านบน ดอกคล้ายดอกจำพวกตระกูลถั่ว
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ตัวฝักพองเป็นคลื่นเมล็ด ลักษณะของฝักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนปลายฝักจะแหลมยื่นออกมา ฝักอ่อนมีสีเขียว เนื้อเปลือกฝักจะเหนียว เมื่อแก่ หรือแห้ง ฝักนั้นจะแตกอ้าออกจากกัน ข้างในฝักมีเมล็ดอยู่ 1-5 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี มีสีแดง บริเวณขั้วมีจุดสีดำ ผิวเรียบเกลี้ยง เมล็ดเหนียวและแข็ง
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่ที่มีความชื้น เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้นและราก ใบ เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ลำต้นและราก ใช้ลำต้นและรากแห้ง ใช้ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอานำกินเป็นยาแก้เจ็บคอ ไอแห้ง ขับปัสสาวะ หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ และเป็นโรคดีซ่าน เป็นต้น
  • ใบ ใช้ใบสด ประมาณ 20-30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ กระตุ้นน้ำลาย ขับปัสสาวะ หล่อลื่นปอด แก้ปวดบวมตามข้อ ปวดตามแนวประสาท หรือใช้ภายนอกโดยนำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้น้ำผึ้งหรือน้ำมันพืชผสม ใช้ทาหรือพอก บริเวณที่บวมเจ็บ หรือจุดด่างดำบนใบหน้า
  • เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง ใช้เฉพาะทาภายนอก นำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ น้ำมันมะพร้าว หรือเกลือ ใช้พอกหรือทา กลากเกลื้อน หิด ฝีมีหนอง แก้โรคผิวหนัง บวมอักเสบ และใช้เป็นยาฆ่าแมลง เป็นต้น
ข้อห้ามใช้ : เมล็ดมีพิษมาก ห้ามใช้รับประทาน
อื่น ๆ : เมล็ดมีโปรตีนที่มีพิษ ประมาณ 0.5 มก. มีผลทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้

 

มะเขือพวง

มะเขือพวง

ชื่ออื่น :  มะเขือละคร ,หมากแค้ง, มะแคว้งกูลัว, มะแคว้งกูลา, มะแว้ง, มะแว้งช้าง, รับจงกลมปอลอ, ปอลือ, เขือข้อย, เขือพวง, ลูกแว้ง, แว้งช้าง, เขือเทศ, ตะโกงลาโน, จะเคาะค่ะ, หมากแข้ง, มะแขว้ง, มะแข้งคม, มะเขือป้าว, (ภาคเหนือ) มะเขือฝรั่ง, (กรุงเทพฯ) มะเขือขาว, มะเขือจานมะพร้าว, มะเขือกระโปกแพะ, มะเขือจาน (ภาคกลาง) สะกอวา, ยั่งมูไล่, (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์  : SOLANACEAE
ชื่อสามัญ : Plate brush egg plant
ลักษณะทั่วไป :
  • เป็นไม้ข้ามปี ต่างจากมะเขืออื่นๆ ที่เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูง ๑-๓ เมตรเป็นต้นเดี่ยวจากดินแตกพุ่มด้านบน เป็นไม้พุ่มมีหนาม
  • ใบ รูปไข่กว้าง ขอบใบเรียบหรืออาจเว้าเป็นรอยหยัก เรียงตัวแบบตรงข้าม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอก เป็นดอกช่อ ดอกทรงแตรมีกลีบปลายแหลม ๕ กลีบสีขาวหรือม่วง เกสรสีเหลือง
  • ผล เป็นผลแบบเบอร์รี่ อยู่เป็นช่อ ดอกหนึ่งๆ จะติดผลตั้งแต่ ๒-๓ ผลจนถึง ๑๐ ผล ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๑ เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียวหนาและเหนียว ลักษณะผลคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกมีสีเหลืองหรือสีส้มแดง เนื้อผลบาง ภายในเต็มไปด้วยเมล็ดกลม แบนสีน้ำตาลอัดแน่นผลละ ๓๐๐-๔๐๐ เมล็ด ผลมีรสขมกินได้
*** ปัจจุบันในประเทศไทยมีมะเขือพวงพันธุ์ไร้หนามแล้ว
การขยายพันธุ์ : สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด,การปักชำลำต้น,การปักชำราก,การปักชำยอด,การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ผล ราก
สรรพคุณ :
  • ลำต้น สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด ฟกช้ำ
  • ใบ สรรพคุณ ห้ามเลือด แก้ฝีบวม มีหนอง
  • ผล สรรพคุณ ขับเสมหะ
  • ราก รักษาแผลแตกบริเวณเท้า รากยังใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ
  • ทั้งต้น ใบ และผล รสจืด เย็นและมีพิษเล็กน้อย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนองและอาการบวมอักเสบ
  • รากใช้พอกเท้าแตกเป็นร่องเจ็บ

 

 

รกฟ้า

รกฟ้า

ชื่ออื่น ๆ : กอง (อุตรดิตถ์-สุโขทัย-พิษณุโลก-สงขลา), ชะลีก (เขมร-บุรีรัมย์), สพิแคล่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), เชือก, เชียก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-อีสาน), คลี้ (ส่วย-สุรินทร์), เชือก (สุโขทัย), ฮกฟ้า (พายัพ), ชะลีก (เขมร-พระตะบอง)
ชื่อสามัญ : T. tomentosa W. & A.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia alata
วงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น ซึ่งแน่นทึบ เปลือกของลำต้น จะเป็นสีเทาค่อนข้างดำ และแตกเป็นสะเก็ด ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 10-30 เมตร
  • ใบ : จะเป็นสีเขียว เมื่อใบยังอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาล ปกคลุมประปราย แต่เมื่อแก่ขนนี้ก็จะหลุดร่วงไปเอง ลักษณะของใบจะเป็นรูปมนรี ตรงปลายใบและโคนใบจะมน ตรงปลายจะเป็นติ่งทู่ ๆ ยาวออกมาเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่น ๆ ใบจะมีความกว้างประมาณ 3-5 นิ้ว และยาว 5-12 นิ้ว
  • ดอก : เวลาที่รกฟ้าจะออกดอกนั้น จะต้องผลัดใบออกหมดก่อนแล้วดอกจะแตกออกเป็นสีขาวสะพรั่งเต็มต้น ดอกของพรรณไม้นี้จะออกเป็นช่อ ๆ และมีขนาดเล็ก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3-4 มม.
  • ผล : จะเป็นแบบผลแห้ง แข็ง มีความกว้างประมาณ 2.5-5 ซม. และยาวประมาณ 0.3-0.4 ซม. จะมีปีกหนาและเป็นมัน กว้างกว่าผลประมาณ 5 ซม. จะมีเส้นปีกลากจากแกนกลาง ไปยังขอบปีกในแนวราบ เป็นจำนวนมาก ภายในผลจะมีอยู่ 1 เม็ด
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ราก และเปลือก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ราก ใช้ขับเสมหะ
  • เปลือก นำไปต้มน้ำกินรักษาอาการท้องร่วง อาเจียน ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด และใช้ชะล้างบาดแผล

 

 

ลำเจียก

ลำเจียก

ชื่ออื่น ๆ : ลำปาง, ปะหนัน, รัญจวน, ลำจวน, เตยทะเล, การะเกด, ปาแนะ, กาแกด, ดอกกาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoraissimus
วงศ์ : PANDANACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม อยู่ในประเภทเดียวกับต้นเตย ลักษณะของลำต้นจะแตกเป็นกอใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร บริเวณโคนต้นจะมีรากอากาศโผล่ออกมา
  • ใบ : มีสีเขียว ลักษณะคล้ายกับใบสับปะรด คือจะใหญ่ ยาวและหนา ขอบใบเป็นจัก มีหนามแหลม ใต้ท้องใบมีแกนกลาง
  • ดอก : จะโผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามชายน้ำ จะต้องการความชื้นและน้ำในปริมาณที่มาก ปลูกขึ้นดีในดินอุดมร่วนซุย หรือดินเหนียวปนทรายอุ้มน้ำได้ดี วิธีการขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือหน่อ
ส่วนที่ใช้ : ราก , ดอก
สรรพคุณ :
  • ราก ของลำเจียกมีรสเย็นและหวานเล็กน้อย นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ และรากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น แก้ปัสสาวะพิการ
  • ดอก รสหอมเย็น แก้ลม บำรุงหัวใจ
อื่น ๆ : เป็นพรรณไม้ในวรรณคดีไทยที่กล่าวไว้ ซึ่งมีในเรื่องนิราศธารทองแดง อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ สมุทรโฆษคำฉันท์

 

หญ้าใต้ใบ

หญ้าใต้ใบ

ชื่ออื่น ๆ : มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), หมากไข่หลัง (เลย), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), เตียงจูเช่า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus urinaria Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-16 นิ้ว ลักษณะของลำต้นเรียบไม่มีขน ข้อ และกิ่งก้านเป็นสีแดง
  • ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็น 2 แถว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบแหลมสั้น หรือมน โคนใบกลมมน หลังใบมีเป็นเขียว ส่วนใต้ท้องใบเป็นสีเขียวเทา ใบมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 2-5 มม. ยาวประมาณ 5-15 มม. ก้านใบสั้น
  • ดอก : ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกเพศผู้และเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ผิวเปลือกนอกขรุขระ ผลอ่อนเป็น สีเขียว เมื่อแก่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ข้างในผลเป็นรูปสามเหลี่ยม สีน้ำตาล ผลออกเรียงเป็นแถวอยู่ใต้ก้านใบ
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นเองตามสวน หรือที่รกร้างขึ้นได้ดีในเกือบทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น
สรรพคุณ :
  • ลำต้น ใช้ลำต้นสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้ง 15-30 กรัม) นำมาต้มหรือคั้นเอาน้ำกิน เป็นยา แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ตับอักเสบ แก้ไข้ นิ่ว ขับปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ ไตอักเสบบวมน้ำ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต้อตาและเป็นโรคตาแดง หรือใช้ภายนอกในการตำพอก แผลที่บวมอักเสบ บริเวณริมปาก และศีรษะ เป็นต้น
ตำรับยา :
  1. เป็นไตอักเสบโดยเฉียบพลัน ให้ใช้ลำต้นแห้ง กับจั่วจิเช่า ในปริมาณอย่างละ 10 กรัม และเจียะอุ้ยแห้ง จีจูเช่าแห้ง ใช้อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มรวมกันเอาน้ำกิน
  2. เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร ตาฟาง ให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาตุ๋น ผสมกับตับหมู และตับไก่ให้รับประทาน
  3. โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นนิ่วให้ใช้ลำต้นสด ผักกาดน้ำสด ต้นผีเสื้อน้ำสด ในปริมาณอย่างละ30 กรัม กูดงอแงสด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินตำรับยา (สัตว์) : 1. สัตว์เลี้ยงเป็นโรคบิด ให้ใช้ต้นสดประมาณ 250-500 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำหรือใช้ผสมกับอาหารให้กิน
  4. ลูกหมูเป็นบิด ถ่ายออกเป็นมูกเลือด ให้ใช้ลำต้นสดประมาณ 30 กรัม หญ้ากระต่ายจันทร์สด ประมาณ 12 กรัม นำมารวมกันตำคั้นเอาน้ำให้กินวันละ 2 ครั้ง
  5. วัว ตาเป็นต้อกระจก ตาฟาง ให้ใช้ลำต้นสด เถาสังวาลพระอินทร์สด และดอกเก๊กฮวย ในปริมาณอย่างละ 250 กรัม นำมาต้มเอาน้ำให้กิน

 

 

กรรณิกา

กรรณิกา

 ชื่ออื่น ๆ : กันลิกา

ชื่อสามัญ : Night Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbortristis Linn.
วงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง
  • ใบ : ใบหนา ค่อนข้างแข็ง ลักษณะโคนใบมน ปลายใบแหลมขนาดใบโตเท่ากับใบมะยม พื้นผิวใบหยาบ สากระคายมือ
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ คล้ายกับดอกพริกป่าหรือดอกพุดฝรั่ง ลักษณะของดอก โคนดอกเป็นหลอด ปลายดอกแยกเป็นกลีบประมาณ 5-7 กลีบ มีลักษณะเป็นจานคล้ายรูปกงจักรดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนก้านดอกมีสีแดง หรือสีส้ม (แสด)
การขยายพันธุ์ : เป็นพันธุ์ไม้ที่มักปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามบ้าน ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง
ส่วนที่ใช้ : ใบ, เปลือก, ดอก
สรรพคุณ :
  • ใบ ใช้แก้โรคปวดตามข้อ แก้ไข้ เป็นยาระบาย ยาขับน้ำดี ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ตานขโมย
    วิธีใช้ใบ ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำตาลดื่ม
  • เปลือก ใช้เปลือกชั้นใน แก้ปวดศีรษะ
    วิธีใช้ ด้วยการต้มเปลือกน้ำดื่มหรือนำไปผสมกับปูนขาวก็จะให้เป็นสีแดง
  • ดอก แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน ราก เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้ผมหงอก แก้อุจจาระเป็นพรรดึก แก้ไอใช้ต้มหรือฝนรับประทาน
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบอยู่ทั่วไป ในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น ในประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และในประเทศไทย เป็นต้น


กล้วย

กล้วย

ชื่ออื่น ๆ : กล้วยหอม กล้วยใต้ กล้วยพุทธมาลี กล้วยน้ำว้า กล้วยพัด กล้วยหอมจัทน์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยน้ำ กล้วยน้ำไท กล้วยเล็บมือ กล้วยนาก กล้วยส้ม กล้วยหักมุก กล้วยหอม กล้วยมณีอ่อง
ชื่อสามัญ : Lacantan, Sucrier,Red Fig Banana,Banana Flower,Martinigue Banana,Travellers tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa paradisiacal L.Var. sapientum O.Ktze
วงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกันจะมีลำต้นขนาดใหญ่และสูงประมาณ 25 เมตร
  • ใบ: จะมีสีเขียว เป็นแผ่นยาวประมาณ 1.53 เมตร กว้าง 40-60 ซ.ม เส้นของใบจะขนานกันแกนใบจะเห็นได้ชัดเจน ก้านใบยาวกว่า 30 ซม.ดอก : มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60-130 ซม. เป็นช่อหนึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อมีสีแดงปนม่วงเป็นรูปกลมรี ยาว 15-30 ซม. ส่วนที่เป็นฐานดอกจะมีตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้ ช่อดอกที่จะเจริญกลายเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและผู้จะร่วงไป
  • ผล : เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้วซึ่งผลนี้ จะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7-8 หวี ในแต่ละหวีจะมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ผลจะมีรูปร่างอย่างไรขึ้นอยู่กับ ชนิดของต้น เมื่อผลออกมาใหม่ ๆ จะมีสีเขียวแต่พอแก่พอที่จะรับประทานได้จะเป็นสีเหลือง น่าทานมาก แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียวเท่านั้น
ส่วนที่ใช้ : ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ :
  • ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล
  • ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน)
  • ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง
    วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก
  • หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

 

 

กาลพฤกษ์

กาลพฤกษ์

ชื่ออื่น ๆ : ราชพฤกษ์ กาลพฤกษ์ ไชยพฤกษ์(ภาคกลาง) เปลือกขม(ปราจีน) กาลส์(เขมร)
ชื่อสามัญ : Horse Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia grandis Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAR
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง ลักษณะลำต้นคล้ายต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน
  • ใบ : ใบมีลักษณะเป็นใบเล็ก ๆ มีลักษณะคล้ายแคฝรั่ง หรือใบขี้เหล็ก คือปลายใบแหลม ใบบางเรียบ
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ มีสีชมพูแกมสีขาว เกสรดอกมีสีเหลือง ดอกมีลักษณะคล้ายกับดอกต้นเชอรี่ มีกลิ่นหอม
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักกลม มีสีดำ เนื้อในของฝักมีสีขาว และแห้งจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ฝักหนึ่งยาวประมาณ 38-40 นิ้ว
ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก เปลือกและเมล็ด
สรรพคุณ :
  • เนื้อในฝัก ใช้ปรุงเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษไข้
  • เปลือกและเมล็ด ใช้ทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้

 

 

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ชื่ออื่น ๆ : ข่าตาแดง
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia officinarum Hance
วงศ์ : -

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ลงหัวและต้นเมื่อมันแตกขึ้นเป็นกอจะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่ต้นจะเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย แต่โตกว่าข่าลิงสักหน่อย
  • ใบ : จะมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่
  • หน่อ : เมื่อมันแตกหน่อจะมีสีแดงจัด เราเรียกว่าตาแดง แต่กลิ่นและรสนั้น จะหอมฉุนกว่าข่าใหญ่ หน่อนั้นใช้เป็นผักปรุงอาหาร
การขยายพันธุ์ : ด้วยการแยกหน่อเอามาปลูก
ส่วนที่ใช้ : ต้น ดอก ใบ และหัว
สรรพคุณ :
  • ต้น ใช้รักษาบิด ชนิดที่ตกเป็นโลหิต
  • ดอก ใช้ทารักษาเกลื้อน
  • ใบ ใช้ทารักษากลาก หัว ใช้รับประทานขับลมให้กระจาย บรรเทาอาการฟกช้ำ บวมและรักษาอาการพิษ ใช้นำหัวข่าโขลกแล้วคั้นกับน้ำส้มมะขามเปียกและเกลือประมาณ 1 ชาม แกงเขื่อง ๆ ให้หญิงที่คลอดบุตรใหม่ ๆ รับประทานให้หมด ใช้เป็นยาขับโลหิตที่เน่าในมดลูกและช่วยขับลมในลำไส้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบายอยู่ในตัวด้วย รักษาอาการพิษโลหิตทำ รักษษบาดทะยักปากมดลูกด้วย

 

ข้าว

ข้าว

ชื่ออื่น ๆ : ข้าวเจ้า ข้าวเนียว (ภาคกลาง) ข้าวนึ่ง (ภาคเหนือ) ข้าวเหนียวปั้ว ข้าวคอแร้ง (อ่างทอง) ข้าวไข่แมงดา บือถู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตั่วบี่ แกบี้ (จีน)
ชื่อสามัญ : Rice Plamt
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa Linn.
วงศ์ : GRAMINEAE
 
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : ข้าวเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้าล้มลุก เป็นพรรณไม้น้ำลำต้นนั้นภายในจะกลวงและเป็นข้อมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ส่วนมากจะขึ้นในโคลนที่เป็นดินเหนียว
  • ใบ : ลักษณะของมันบางแคบและยาวประมาณ 30-60 ซม. กว้างประมาณ 0.6-2.5 ซม. เส้นใบกลางนั้นเราจะเห็นได้ชัดตรงปลายใบแหลมและโคนใบที่หุ้มรอบลำต้นนั้นยาว ประมาณ 0.8-2.5 ซม. ส่วนผิวใบและขอบใบนั้นจะมีขนสั้น ๆ ทั้ง 2 ด้าน
  • ดอก : จะออกเป็นช่อดอรวม ซึ่งเรียกว่ารวงข้าว ดอกกลมรียาวประมาณ 6-8 ซม. ดอกที่ไม่ติดผลนั้นมันจะฝ่อและลีบเป็นหนามแหลม ส่วนดอกย่อยจะมีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อันและอับเรณูยาวราว 2 มม. ก้านเกสรตัวเมียมีอีก 2 อัน ลักษณะนั้นคล้ายนก ช่อด้านถ้าแก่จัดจะงอลง
  • เมล็ด (ผล) : เป็นรูปไข่ปลายแหลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2-3 มม. ยาวประมาณ 0.6-1.5 ซม. เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวถ้าสุกเต็มที่มีสีเหลืองทอง เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นในเมืองร้อน
การขยายพันธุ์ : โดยการหว่านเมล็ดมักจะหว่านในดินเหนียวที่เป็นโคลนจะทำให้การเจริญเติบโตงอกงามได้ดีกว่าดินอื่น ๆ
ส่วนที่ใช้ : ข้าวงอก ข้าวที่ราลง เมล็ด ต้นอ่อนของข้าวเหนียว ต้นและรากข้าวเหนียว ลำต้นและใบ (ฟาง) น้ำซาวข้าว น้ำข้าว รำแกลบ ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ข้าว เป็นอาหารหลักของคนตะวันออก นำมาต้มหรือคั่วกินใช้ประมาณ 30-60 กรัม มัรสชุ่ม ให้พลังงาน บำรุงกาย กระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้แก้ท้องร่วง บิด
  • ข้าวเหนียว ใช้ต้มกิน บดเป็นผงหรือทำรูปให้เป็นเม็ดกินจะบดเป็นผงผสมใช้ทาภายนอกรักษาเหงื่อออกมาก ผิดปรกติและอาการท้องร่วงหรือบิด ให้พลังงาน บำรุงร่างกาย
  • รากข้าวเหนียว นำไปต้มน้ำกินใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม มีรสชุ่ม ช่วยกระตุ้นน้ำลายและละลายเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้เหงื่อออกมาก
  • ข้าวที่ราลง (ข้าวดอกกระถิน) ใช้นักษาม้าที่เจ็นคอเปนอัมพาต เอาข้าวที่ราลงเผาให้เป็น ถ่านแล้วบดเป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าให้ม้ากิน เป็นข้าวที่มีพิษ ถ้ากินมากอาจตายได้
  • ต้นอ่อนข้าวเหนียว นำไปต้มน้ำกินใช้แห้งประมาณ 10-30 กรัม ทำให้ย่อยอาหาร ช่วยหล่อลื่นลำไส้และช่วยลดเสมหะ บรรเทาอาการไอที่ไม่รู้สาเหตุ
  • น้ำข้าว ใช้กินได้ตอนอุ่น ๆ พอสมควร มีรสชุ่ม บรรเทาอาการร้อนและกระหายน้ำ หรืออาเจียนเป็นเลือด ตาแดง เลือดกำเดาออกง่าย ไม่มีพิษ สามารถขับปัสสาวะได้
  • น้ำซาวข้าว กินได้พอสมควรหรือผสมน้ำอุ่นกิน มีรสชุ่มเย็น บรรเทาอาการร้อนแลกระวนกระวานหรือกระหายน้ำ รักษาอหิวาตกโรค อาหารที่ไม่ย่อยและแก้พิษได้ โดยการกินน้ำซาวข้าว 1 แก้ว และป็นน้ำซาวข้าวที่ไม่เป็นพิษ
  • รำข้าว อุดมไปด้วยวิตามินบี สามารถนำมาต้มกินได้พอสมควรอาจจะทำเป็นเม็ดหรือนำมาบดเป็นผงกิน รสชุ่มมีกลิ่นฉุนใช้บำบัดโรคเหน็บชาหรือสะอึกและช่วยหล่อลื่นลำไส้ จะช่วยย่อยและเจริญอาหารเป็นรำข้าวที่ไม่มีพิษ
  • ข้าวงอก (rice malt) ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหารเพราะในข้าวงอกมีน้ำย่อยแป้ง ใช้แห้ง 10-15 กรัม นำไปต้มกิน
  • แป้งข้าวเจ้า นำไปใช้พอกเพื่อบรรเทาอาการอักเสบในไฟลามทุ่ง (erysipelas) และผิวหนังน้ำร้อนลวกกริผื่นแสบร้อนที่ผิวหนัง ผดผื่นคันเล็ก ๆ น้อย ๆ ความชุ่มชื่นและอ่อนนุ่มของข้าวช่วยลดการระคายเคืองด้วย
  • ฟาง นำไปต้มกินหรือเผาให้เป็นเถ้าใช้ละลายน้ำถิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วรินเอาน้ำมา ใช้ ใช้เฉพาะภายนอต้มน้ำชะล้าง มีรสชุ่ม สามารถขับลมและทำให้เรอ รักษาอาการท้องอืดแน่นปวดท้อง ท้องร่วง กระหานน้ำ ริสีดวงทวาร ดีซ่าน และแผลที่เกิดจากไฟหรือน้ำร้อนลวก
ข้อห้ามใช้ : ข้าวเนียว อาจทำให้อาหารไม่ย่อยและเกิดท้องผูกสำหรับคนที่มีระบบการย่อยที่ไม่ดี ข้าวที่มีราลง (ข้าวดอกกระถิน) จะมีพิามาก ไม่ควรที่จะนำมากิน
ตำรับยา
  1. รักษาพิษจากสารหนู (arsenic) นำฟางไปเผาเป็นเถาแล้วนำไปแช่น้ำ ผสมกับผงครามที่ได้จากพรรณไม้ 10 กรัม กินได้
  2. อาเนียดเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล ใช้น้ำข้าวซ้อมมือมา 1 แก้วนำมาอุ่นกิน หรือจะใช้น้ำข้าวผสมกับน้ำมันพืชหรือน้ำที่คั้นได้จากหัวผักกาดขาวใช้หยอด จมูก
  3. บำรุงม้าม ช่วยย่อยและทำให้เจริยอาหาร กระตุ้นน้ำภายหลังฟื้นไข้ ใช้ข้าวงอก 120 กรัม ลูกเร่วดง (Amomum villosum Lour.) แปะชุก (Atractylodes macrocephala Koidz.) นำไปคั่วอย่างละ 30 กรัมแล้วบดเป็นผงผสมน้ำร้อนกินแทนน้ำชาหรือทำเป็นยาเม็ดกินได้
  4. รักษาโรคเหน้บขา โดยการนำรำข้าวใหม่ปราศจากเชื้อราลงมา 5 ถ้วยชา แล้วใส่น้ำพอประมาณนำไปต้มให้เดือดเทกากทิ้ง เทน้ำที่ต้มได้นำไปต้มกับข้าวกินเป็นประจำ
  5. เป็นฝีบนหัวเด็ก ให้ใช้ข้าวเหนียวสุกที่เผาจนเป็นถ่านบดเป็นผงให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมันทาเฉพาะส่วนที่เป็นฝี
  6. บิดถ่ายเป็นโลหิต นำฟางที่ตากแห้งเผา เอาไปแช่น้ำอุ่นพออุณหภูมิ 35C แล้วสวนล้าง
  7. ทำเป็นยาช่วยให้เกิดการอาเจียน โดยการเอาฟางที่เผาแล้วนำไปผสมกับน้ำอุ่นกิน อาจจะอาเจียนเอาตัวพยาธิไส้เดือนที่อยู่ในกระเพาะอาหารติดออกมาด้วย
  8. แก้อาการสะอึก ลำคอตีบตัน กินไม่ลง นำรำข้าวใหม่ที่ไม่มีเชื้อราลง เอาไปผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดขนานเท่าลูกมะยม แล้วอมไว้ครั้งละ 1 เม็ด
  9. ถ้าปวดเอว ควรใช้ข้าวเหนียวประมาณ 1-2 ถ้วยชา นำไปคั่วจนร้อนแล้วเอาใส่ถุงประคบตามที่ปวด หรือบดเป็นผงผสมกับลุกโป้ยกั๊ก (illicium verum Hook. F.) หรือเหล้าและเกลือกินได้
  10. บรรเทาการกระหายน้ำ หรือเหงื่อที่ออกมาผิดปกติเอารากข้าวเหนียวที่เผาออกมาเป็นเถ้านำไปแช่น้ำ กิน หรือจะใช้ไส้ตรงข้างในลำต้นเอาเฉพาะส่วนเนื้อทีฟ่ามสีขาว เอาเผาเป็นเถ้า แช่น้ำไว้ 1 แก้ว เพื่อเทเอาน้ำกิน
  11. ใช้เป็นยาระบาย โดยนำรำข้าวมา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำอีก 1 แก้ว ต้มจนเดือดแล้วยกลงตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วคนให้ทั่วกิน
  12. กินเนื้อวัวมากเกินไป ทำให้คลิ่นไส้ รู้สุกจุกแน่นหน้าอกและเบื่ออาหาร ร่างหายจะเหลืองซีดและผอม ให้นำฟางที่แห้งแล้วมาประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำตาลทรายประมาณ 3 กรัม ต้มมกับน้ำใช้กินได้
  13. ตาแดง ให้ใช้น้ำข้าวผสมกับผงเก๊กฮวยแล้วให้กินก่อนนอน จะทำให้ตาแดงหายเป็นปกติ
  14. ตับอักเสบชนิดที่ติดต่อได้ ให้ใช้ฟางที่ตากแห้งผสมกับโพวกงเอง (Taraxacum mongolicum Hand.-Mazz) ใช้ชนิดละ 60 กรัม ต้มกับน้ำใช้กินได้
  15. ผิวหนังอักเสบเนื่องจากการทำนา ให้ใช้ฟางและสารส้มปริมาณเท่ากัน แล้วหั่นฟางต้มกับน้ำให้เดือดนาน 30 นาที ก่อนใช้อีก 30 นาที แล้วใส่สารส้มลงไปสามารถนำไปแช่เพื่อชะล้างภายนอก
  16. กินยามากเกินไปจนเกิดอาการแพ้ยา หรือโดนพิษจนเกิดอาการกระวนกระวาย ควรใช้ข้าวดิบแช่ในน้ำเทน้ำดื่มได้ประมาณ 5 ถ้วยชา
  17. ปัสสาวะเป็นหนอง ให้ใช้ฟางที่ตากแห้งต้มกับน้ำแล้วคั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จึงนำมากิน
ข้อมูลทางคลีนิค
1. ฟางข้าวเหนียว ใช้รักษาตับอักเสบได้ดีควรใช้ประมาณ 100 กรัม ลงในน้ำ 1 ลิตร ควรใช้ไฟแรง ๆ ต้มจนเหลือประมาณ 200 มล. แบ่งกินได้ 2 ครั้ง ปรกติคนใช้ยากินติดต่อกันนาน 25-30 วัน จกสถิติคนไข้ 43 ราย รักษาได้ผลดีมาก และอาการตับโตจะลดลง และตับก็จะทำงานได้ตามปรกติ 35 ราย เฉลี่ยแล้วจะต้องรักษาตัวอยู่ในดรงพยาบาลเพียง 40.2 วัน และอีก 7 วัน อาการดีขึ้นเหมือนกันแต่ตับโตเหมือนเดิมมและทำงานไม่ปรกติดีเท่าไหร่ ส่วนอีก 1 ราย ไม่ได้ผล จากการเปรียบเทียบยานี้กินแล้วเกิดอาการเบื่ออาหาร ไม่ชอบจำพวกไขมันและรูสึกอ่อนเพลีย หลังกินยานี้ 13 วัน อาการเจ็บที่ตับจะลดลง หลัง 20.1 วัน อาการตับโตจะลดลงเฉลี่ยแล้ว 28.2 วัน และอากรร่างกายเหลืองจะหายเฉลี่ยแล้ว 10.9 วัน ส่วนการรักษาโดยใช้ฟางข้าวเหนียว 50 กรัม จากสถิติคนไข้ 30 ราย ได้ผลดีบางรายกินแล้ว 2 วัน ปัสสาวะมากและเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีใสขึ้นและเจริญอาหาร ส่วนคนไข้หายเร็วที่สุด ใช้เวลาแค่ 7-10 วัน และอาการร่างกายเหลืองก็จะลดลงใช้เวลาแค่ 7-12 วัน
2. รากข้าวเหนียว ให้ใช้รักษาโรคพยาธิในต่อมน้ำเหลือง (Filariasis malayi) ตัวอย่างโรคพยาธิเท้าช้าง จะใช้รากข้าวเหนียวต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครัง และการใช้รากสดปริมาณต่าง ๆ กันคือ 30 60 120 240 500 และ 1000 กรัม ต้มน้ำกินภายในระยะเวลา 3-10 วัน คิดเป็น 1 รอบ จากสถิติคนไข้ 389 ราย มีอาการดีขึ้นเป็นจำนวน 80% แลผลทดลองครั้งแรกให้กินวันละประมาณ 30-60 กรัม ติดต่อกัน 10 วันจะได้ผลดี เนื่องรักษานานมากไป ถ้าใช้ปริมาณวันละ 1000กรัม ติดต่อกันอีก 2 วัน จะเกิดดีเหมือนกัน บางรายจะมีอาการเปรียบเทียบคือ รู้สึกปวดหัว วิงเวียน หนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัด ที่ต่อมน้ำเหลืองบวมแข็งฉะนั้นควรกินประมาณวันละ 250-500 กรัม กินติดต่อกันอีกประมาณ 5 วัน จะดีขึ้นและไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการรักษา และจากผลทดลองให้กินยา ติดต่อกันอีก 2-3 วัน คนไข้ 18 ราย มีอาการบวมเพราะจากต่อมน้ำเหลืองที่แขนและขาหนีบอุดตัน จะมีผลหายขาด คิดว่ายาชนิดนี้มีผลฆ่าพยาธิได้อย่างหนึ่ง ส่วนรากข้าวเหนียวสด 125 กรัม ใช้ต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครั้ง ทำติดต่อกันราว 20 วัน คิดเป็น 1 รอบ จากการรักษาหรือนานกว่านี้ก็ได้ จากสถิติคนไข้ 8 ราย เป็นโรคพยาธิในต่อมน้ำเหลือง จะมีปัสสาวะเป็นไขมันติดมามีสีขาวข้นคล้ายน้ำนม (Chyluria) จะได้ผลหาย 4 ราย อาการดี 3 ราย และอีก 1 ราย ไม่ได้ผล

 

คอนสวรรค์

คอนสวรรค์

ชื่ออื่น ๆ : สนก้างปลา, พันสวรรค์,เข็มแดง,แข้งสิงห์,( กรุงเทพฯ ), คอนสวรรค์ (เชียงใหม่)

ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomea quamoclit Limm.
วงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทั่วไป:
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ลมลุก จะมีอายุนานประมาณ 1 ปี ลำต้นจะเลี้อยพันกัน ลำต้นจะเล็กและเรียวมีผิวเกลี้ยง
  • ใบ : ใบจะเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนานกัน และมีความกว้างประมาณ 1-6 ซม. ความยาวประมาณ1-9 ซม. ตรงขอบใบจักเป็นแฉกลีกเป็นแบบขนนก ข้างละประมาณ 9-19 แฉก แฉกนั้นอาจจะอยู่ ตรงข้ามกันหรือเรียงสบับกันส่วนก้านใบจะยาวประมาณ 8-40 มม. ตรงโคนก้านมักจะมีหูใบปลอม
  • ดอก : ดอกจะออกเป็นช่อตามง่ามใบจะมีอยู่ประมาณ 2-6 ดอกจะมีก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5-14 ซม. ก้านดอกนั้นยาว 5-20 มม. เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบอง กลีบรองกลีบดอกจะเป็นรูปขอบ ขนานกัน หรือเป็นรูปช้อนแกมขอบขนาน ตรงปลายมน คู่นอกนั้นยาวประมาณ 4-4.5 มม. คู่จะยาว กว่าเล็กน้อย ผิวเกลี้ยง กลีบดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นทรงแจกมีความยาวประมาณ 2-3 ซม. ปลาย ของมันจะแยกออกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก จะมีสีแดง หรือบางทีจะมีสีขาว
  • เกสร : เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะโผล่พันกลีบดอก ส่วนเกสรตัวผู้จะมีขนอยู่ที่โคน
  • รังไข่ : รังไข่นั้นจะมีลักษณะผิวเกลี้ยง
มล็ด (ผล) : ผลเมื่อแห้งจะเป็นรูปไข่มีความยาวประมาณ 6-8 มม. ส่วนเมล็ดนั้นจะมี 4 รูปขอบขนายแกมไข่ มี ความยาวประมาณ 5-6 มม. มีสีน้ำตาลดำ หรือสีดำ
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น และเมล็ด ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น เป็นยาเย็น ใช้รักษาพิษงูกัด และเป็นยานัตถุ์ ยารุ
  • ใบ นำมาตำทำเป็นยาพอกริดสีดวงทวารที่มีเลือดออก รักษาสิวหัวช้าง หรือฝีฝักบัว
  • เมล็ด ใช้เป็นยาระบายและเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง
ถิ่นที่อยู่ :
พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อนและได้กระจายแพร่พันธุ์เอง ตามป่าละเมาะหรือ ตามที่รกร้างว่างเปล่า ตามไร่ ตามนา ขึ้นในระดับสูงประมาณ 1,200 ม. มักนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ


ชบา

ชบา

ชื่ออื่น ๆ : ดอกใหม่, ใหม่แดง, ใหม่ (เหนือ), ชุมบา, ชบาขาว, ชุมมา (ปัตตานี), บา, ชะมา (ใต้)
ชื่อสามัญ : Shoe Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus rosa-sinensis Linn.
วงศ์ : MALVACEAE


ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม อยู่ในจำพวกพู่ระหง ลำต้นนั้นมีความสูงประมาณ 6-7 ฟุต หรืออาจสูงได้ถึง 12 ฟุต เป็นพรรณไม้เนื้ออ่อน ส่วนเปลือกนั้นจะเหนียวมาก
  • ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยวเป็นสีเขียว ใบโตและฐานใบกว้าง ลักษณะรูปใบมน ตรงปลายใบของมันจะแหลม ริมใบจะเป็นจักใหญ่คล้ายกับฟันเลื่อย เมื่อเราเด็ดมาขยี้จะมีเมือกเหนียว ๆ ใบมีความยาวประมาณ 6 ซม. และกว้างประมาณ 5-7 ซม.
  • ดอก : ดอกจะออกเดี่ยว ๆ อยู่ระหว่างใบ และมีกลีบอยู่ 5 กลีบ ดอกนั้นจะมีอยู่หลายสีคือ สีแดง สีขาว และสีเหลือง ตรงปลายดอกจะมนและกลม
  • เกสร : จะมีก้านเกสรยาว และจะยื่นออกมาพ้นจากกลางดอก จะมีเกสรตัวผู้เป็นสีเหลืองเกาะอู่หนาแน่นบนท่อเกสร ส่วนเกสรตัวเมียนั้นจะอยู่ตอนปลายสุดของก้านดอก
การขยายพันธุ์ : โดยการปักชำกิ่ง หรือวิธีตอนกิ่งก็ขึ้นง่าย มีดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ใบ ใบประมาณ 5-10 ใบ นำใบมาล้างให้สะอาด แล้วตำรวมกับใบพุดตาน จำนวนเท่า ๆ กัน ใช้พอกคางทูม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือจะใช้ใบชบา และใบพุดตานผสมกับ น้ำผึ้งแล้วเคี่ยวให้ขึ้น ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นคางทูมก็ได้ ในใบนั้นจะมีสารที่เป็นเมือกเช่นเดียวกับราก ถ้าเอามาทาตามผิวหนังจะทำให้ผิวหนังนั้นชุ่มชื้น(emollient) และเป็นยาระบาย เพื่อจะไปหล่อเลี้ยงลำไส้ให้ลื่น
  • ดอก ใช้ปริมาณพอควร ชงกับน้ำ ใช้ดื่มเพื่อลดอาการไข้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ดอกแดง นำมาแกงเลียงกินเพื่อบำรุงน้ำนม ถ้าไม่มีดอกก็ใช้ใบอ่อนแทนก็ได้ นอกจากนี้แล้วดอกชบา ยังทำให้เป็นหมันได้
  • รากสด ใช้ประมาณ 1 กำมือ นำมาโขลกให้ละเอียด พอกรักษาพิษฝี และอาการฟกบวม หรือใช้ต้มกับน้ำกิน เพื่อขับน้ำย่อยอาหาร เป็นยาเจริญอาหาร ในรากชบานั้นจะมีสารที่เป็นเมือก (mucilage) อยู่ ใช้ Althea แทนรากได้ จะทำให้ชุ่มชื้น
อื่น ๆ : หญิงชาวจีนใช้กลีบชบามาย้อมผมและคิ้วให้เป็นสีดำ นอกจากนี้ยังใช้น้ำคั้นจากกลีบ ดอกผสมกับน้ำมันโอลีฟ (Olive Oil) ในอัตราส่วนที่เท่ากัน แล้วนำไปเคี่ยวให้น้ำระเหยจนหมด ใช้ทาที่ศีรษะเป็นยาบำรุงผม ทางเชียงใหม่ใช้ดอกเป็นอาหาร และใช้รากต้มเป็นยาขับระดูเสีย ส่วนจีนและญวนใช้เปลือกเป็นยาขับระดู
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศที่มีอากาศร้อน เช่น มาเลเซีย ไทย จีน และหมู่เกาะฮาวาย และเป็นดอกประจำชาติ ของประเทศมาเลเซีย
ตำรับยา :
  1. ใบ จะมีรสฝาดชุ่มคอ ใช้รักษาเลือดกำเดาออก คางทูม รักษาแผลบวมอักเสบ
  2. ดอก จะมีรสชุ่มคอ และเย็น ใช้ละลายเสมหะ รักษาอาการไอ เลือดกำเดาออก รักษาโรคบิด ตกขาว และแผลบวมอักเสบ
  3. รากสด ใช้พอกรักษาฝี รักษาอาการฟกบวมอันเนื่องมาจากการอักเสบ ใช้กินภายในเป็นยาขับน้ำย่อยอาหาร ทำให้อาหารมีรส รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ และรักษาอาการตกเลือด
  4. รากและเปลือก ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปรกติ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ รักษาหลอดลมอักเสบ และมดลูกอักเสบ

 

 

ชะมวง

ชะมวง

ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง
  • ใบ : จะมีลักษณะแข็งและยาวหนา คล้ายกับใบมะดัน
  • ดอก : ดอกนั้นเล็ก กลีบดอกจะแข็งเช่นมะดันสีนวลเหลือง และมีกลิ่นหอม ดอกจะดกมาก ใหญ่ประมาณ 10-15 มม.
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบและผล ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ใบและดอก ใช้เป็นยาระบายท้อง รักษาโรคไข้กัดฟอกเสมหะ รักษาธาตุพิการ
  • ใบอ่อนและผล ยังใช้ปรุงเป็นอาหารกิน จะมีรสเปรี้ยวคล้ายใบมะดัน ถ้ากินมาก ๆ จะทำให้ท้องระบายคล้ายดอกขี้เหล็ก
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักจะขึ้นตามป่าชื้นทางภาคใต้และภาคตะวันออก ทางภาคกลางก็มีปลูกกันบ้าง

 

 

แตงหนู

แตงหนู

ชื่ออื่น ๆ : แตงนก, แตงผีปลูก, แตงหนูขน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mukia maderaspatana Roem.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
 ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ตามเถาจะมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่เมื่อจับดูจะสาก ๆ ระคายมือ แตงหนูนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ชนิดแรกจะเกิดในต่างประเทศ และอีกชนิดนี้เกิดในไทยซึ่งมีลำเถาอ่อนและมีน้ำชุ่ม ๆ
  • ใบ : ออกใบเดี่ยว มีสีเขียวตามใบจะปกคลุมไปด้วยขนสั้น ๆ และระคายมือเช่นกัน
  • ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงบริเวณส่วนยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก ๆ มีสีเหลือง
  • ผล : ถ้าเป็นพรรณในไทยนั้นผลจะกลมคล้ายกับผลแตงโมอ่อน แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก ขนาดก็เท่ากับผลมะเขือพวง เมื่อดิบเป็นสีเขียว และเมื่อแก่หรือสุกจะกลายเป็นสีเหลือง แต่ถ้าเป็นพรรณต่างประเทศนั้นผลจะยาวประมาณ 2 นิ้ว และภายในจะแบ่งออกเป็น 3 ห้องและมีน้ำอยู่ซึ่งเป็นยางเหนียว
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก และผล
สรรพคุณ :
  • ราก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ลม แก้เสมหะ แก้คุดทะราด และขับปัสสาวะ
  • ต้น ปรุงเป็นยาแก้เสมหะให้ตก
  • ใบ ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ซึ่งมีอาการทำให้สั่นหนาว
  • ดอก ปรุงเป็นยาแก้โลหิตเสียซึ่งเป็นพิษนั้น ให้ตก
  • ผล ถ้าทานเข้าไปจะเป็นยาระบายอย่างแรงมาก และจะทำปวดใช้ท้องมากด้วย เป็นยาแก้ไข้จับซึ่งมีอาการร้อน
ถิ่นที่อยู่ : ถ้าเกิดในต่างประเทศก็ในแถบ แอฟริกาเหนือ และในยุโรปใต้

 

ชะเอม

ชะเอม

ชะเอมไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่1 ต่อม ดอกอัดแน่น เป็นช่อกลม ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวยปลายแยก 5 แฉกเล็กๆ เกสรผู้จำนวนมากยาวยื่นพ้นกรวยดอก ดอกมีกลิ่นหอมผล เป็นฝักแบนยาว ปลายเรียว ฝักแก่สีน้ำตาลมีเมล็ด 5-8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์         Albizia myriophylla Benth
วงศ์                           LEGUMINOSAE
ชื่อท้องถิ่น                 โดยทั่วไปเรียกกันว่า ชะเอมป่า ส่วนทางภาคเหนือเรียก ส้มป่อยหวาน ตราดเรียก ตาลอ้อย
 ลักษณะของพืช
     ต้นชะเอมป่า เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งแต่เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ลักษณะใบชะเอมป่าเล็กเป็นฝอยละเอียด คล้ายกับต้นส้มป่อยต้นหยงหรือกระถิน ดอกสีขาวเป็นช่อลักษณะฟูดอกเล็กๆ ส่วนฝักนั้นมีลักษณะบิดงอมีหนามตามกิ่งก้านตลอดจนลำต้นด้วย ดอกมี ลักษณะพิเศษเพราะมีกลิ่นหอมส่วนเนื้อในของเนื้อไม้มีรสหวานแบบชะเอมจีน
 การปลูก
ต้นชะเอมป่านี้ปรากฏว่าชอบขึ้นอยู่ ตามเชิงเขา ป่าดงหรือในป่าไม้ เบญจพรรณ ปะปนอยู่กับพันธุ์ไม้ยืนต้นอื่นๆ แต่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยพบว่ามีขึ้นอยู่มากกว่าภาคอื่นๆ การปลูกต้องตอนเอากิ่งไปปลูกหรืออาจจะใช้เมล็ดเพาะก็ได้ กว่าจะเติบโตก็จะต้องดูแลให้ดีด้วยการพรวนดินใส่ปุ๋ย ไม่ให้วัชพืชมารบกวนความเจริญเติบโต
 สรรพคุณ
ราก-แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย เนื้อไม้-ขับเสมหะ แก้ไอ รักษา เลือดออกตามไรฟัน ดอก-ช่วยย่อยอาหาร
  • การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :
    1. ราก      - แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย
    2. เนื้อไม้   - ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน
    3. ดอก     - ช่วยย่อยอาหาร
รสและสรรพคุณ
ต้นหรือแก่นเอามาต้มดื่มแก้โรคในคอ แก้ไอ ทำให้ ชุ่มคอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ลม บำรุงธาตุ บำรุงกำลังและกล้ามเนื้อราก เอามาต้มดื่มเป็นยาระบายได้ดี ใบ เอามาต้มดื่มเป็นยาขับระดูในสตรีส่วนดอกเอามาต้มจิ้มน้ำพริกก็ได้ ต้มดื่มก็ดี ช่วย ย่อยขับเสมหะดีมาก

 

 

ส้มเช้า

ส้มเช้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Euphorbia neriifolia  L. (E. ligularia  Roxb.)

วงศ์ :   Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีหนามแข็งตามมุม เรียงเป็นแถวตามยาว มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ รูปถ้วย ออกตามกิ่งก้าน ใบประดับสีเหลือง ดูคล้ายกลีบดอก ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง
สรรพคุณ :
  •   -  โขลกตำพอก ปิดฝี แก้ปวด ถอนพิษดี
  • ยาง
    -  เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ แก้จุก แก้บวม
    -  ทำให้อาเจียน เบื่อปลาเป็นพิษ
    -  แก้ท้องมาน พุงโร ม้ามย้อย
    -  แก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง ขับน้ำย่อยอาหาร


กระต่ายจันทร์

กระต่ายจันทร์

ชื่ออื่น ๆ : หญ้าจาม(เชียงใหม่) กะต่าย หญ้ากะต่ายจาม หญ้าต่ายจาม กะต่ายจาม กระต่ายจาม(ภาคกลาง) หญ้ากระจาม(สุราษฎร์) หญ้าจาม(ชุมพร) เหมือดโลด(นคาราชสีมา) โฮ่วเกี๋ยอึ้มเจี๋ยะเช้า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centipeda minima (Linn.) A.Br. & Ascher
วงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินที่ชื้นเย็น ขนาดเล็ก ส่วนปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้น ลำต้นที่อ่อนบางต้นก็จะมีขนยุ่ง หรือบางต้นก็ค่อนข้างเรียบ
  • ใบ : ใบออกดก ลักษณะของใบเล็ก โคนใบสอบแคบ ปลายใบมน ริมขอบใบเว้าหยักเป็นง่าม ข้างละ 2-3 หยัก ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-7 มม. ยาวประมาณ 4-22 มม. ใบอ่อนใต้ท้องใบมีขน พอแก่ขนนั้นก็จะหลุดออกเกลี้ยง
  • ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก ตามบริเวณง่ามใบของมัน ลักษณะของดอกค่อนข้างกลมแบน ปลายกลมจักเป็นซี่ ๆ ขนาดของดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 มม. วงนอกของดอกมีกลีบดอกเป็นสีขาว ดอกวงในมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง หรืแต้มสีม่วง ฐานดอกจะนูนไม่มีก้านดอก
  • เมล็ด : เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาว 1 มม. ส่วนปลายจะหนา เปลือกนอกมีขนเล็กน้อยสีขาว
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามชายฝั่งแม่น้ำตามนาข้าวหรือตามที่ชื้น เช่นเดียวกับตะไคร้น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวีธีการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ลำต้น เป็นยาแก้ระงับพิษ ดับพิษสุรา แก้โรคเยื่อบุตาอักเสบ บำรุงสายตาดี ริดสีดวงทวาร โรคมาลาเรีย ฟันผุ เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใส่แผล วิธีการใช้ ด้วยนำเอาลำต้นที่แห้งทำเป็นยาชง ดื่มกิน หรืออาจใช้ลำต้นสด เอามาตำให้ละเอียดแล้วทำเป็นยาพอกที่แก้มแก้โรคปวดฟัน
  • ใบและเมล็ด ใช้บดเป็นผงเป็นยาทำให้จาม
  • เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิ

 

 

กระวาน

กระวาน

ชื่ออื่น ๆ : กะวาน กระวานเทศ
ชื่อสามัญ : cardamom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elettaria cardamomum, Maton.
วงศ์ : ZINGIBFERACEAE

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น: ลักษณะต้นแบน มีความสูงประมาณ 1.75-3.60 เมตร
  • ใบ : ใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบกว้างประมาณ 2.5-12.5 ซม. และมีความยาวประมาณ 29-75 ซม.
  • ดอก : ออกเป็นช่อ มีสีขาวแกมเขียว ก้านช่อนั้นจะผุดออกมาจากลำต้นที่ติดอยู่กับดิน
  • ผล : มีลักษณะเป็นรูปรี กลมเกลี้ยง และเป็นกลีบที่ประกบติดกันแน่นอยู่ 3 กลีบ ผลของมันยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว และหนาประมาณ 0.2 นิ้ว ในผลนั้นจะมีเมล็ด ซึ่งจะเป็นสีน้ำตาล มีเนื้อเยื่อใส หุ้มอยู่ มีกลิ่นหอม รสชาดเผ็ดร้อนและในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล(เมล็ด) หัวหน่อ ราก
สรรพคุณ :
  • ใบ เป็นยากระตุ้น หรือขับลมให้ลงสู่เบื้องล่าง แก้ไข้เชื่อมซึม ลดไข้
  • ผล (เมล็ด) ในเมล็ดจะมีน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 3-6 % ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ กระจายโลหิต กระจายเสมหะ ขับลมผาย ขับลมและใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารด้วย
  • หัวหน่อ เป็นยาขับพยาธิ ในเนื้อเยื่อให้ออกมาทางด้านผิวหนัง
  • ราก ขับเลือด ที่เน่าเสียให้ลงสู่เบื้องล่าง
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ปลูกในเมืองแมเลบา และมีอยู่บนภูเขาสูงในประเทศอินเดีย

 

กระเทียม

กระเทียม

ชื่ออื่น ๆ : หอมเทียม (ภาคเหนือ) กระเทียมขาว หอมเทียม(อุดรธานี) เทียม หัวเทียม (ภาคใต้-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ : Garlic
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum Linn.
วงศ์ : AMARYLLIDACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีเนื้ออ่อน ต้นจะสูงประมาณ 30-45 ซม.
  • หัว : หัวอยู่ในดิน ประกอบด้วยหัวเล็ก ๆ หลายหัวรวมกัน ยาวประมาณ 1-4 ซม. มีเปลือกนอกสีขาวหุ้มอยู่ 2-3 ชั้น
  • ใบ : เป็นสีเขียวแก่ ใบแบน แคบ ยาวประมาณ 30-60 ซม. กว้างประมาณ 1-2.5 ซม. ส่วนโคนของใบจะหุ้มซ้อนกัน ด้านล่างมีรอยพับ เป็นสันตลอดความยาว ปลายใบจะแหลม
  • ดอก : จะมีสีขาวแต้มสีม่วง หรือขาวอมชมพู ดอกออกเป็นช่อ ดอกติดเป็นกระจุกอยู่บนก้านช่อดอกที่ยาว ประกอบด้วยดอกหลายดอก กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปยาวแหลม ยาวประมาณ 6 มิลิเมตร และจะมีกาบหุ้มเป็นจงอยยาว ก้านดอกยาวเล็ก อับเกสรหันหน้าออกข้างนอก
การขยายพันธุ์ : ใช้หัวในการขยายพันธุ์ ชอบอากาศเย็นจะปลูกได้ดีในดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะปลูกในต้นฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้ : ส่วนที่อยู่ในดิน หัว (Bulb) หรือกลีบ (Cloves) หัวใช้สดหรือแห้ง
สรรพคุณ : ใช้เป็นอาหาร คือเป็นส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นหายาใช้ผสมกับขิงอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำมาบดละลายกับน้ำอ้อยกิน จะแก้รัตตะปิตตะเสมหะ แก้เสมหะและลม แก้ฟกช้ำ แก้อืด กระจายโลหิต ผสมยารักษาโรคมะเร็งเพลิง มะเร็งคุด มะเร็งเปื่อยทั้งตัว ผสมกับยาแก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ลมบ้าหมู แก้ลิ้นแข็ง ช่วยบำรุงอาหาร ผสมในยาแก้ท้องอืด แก้เจ็บท้อง ริดสีดวงทวาร ผสมยาทาแก้คลายเส้น แก้เมื่อย แก้กลาก แก้โรคผิวหนัง ผสมกับน้ำมันองคสูตรแก้ริดสีดวงทวาร คัน ฟกช้ำ บวม เมื่อใช้ผสมน้ำนมหรือน้ำกะทิสดคั้นใช้ขับพยาธิเส้นด้าย กินอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ก็จะขับออก นอกจากนี้ เนื่องจากกระเทียมมีรสร้อน สามารถปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดได้ ทำให้ลดการอุตตันของเส้นเลือดเป็นต้น
ตำรับยา
  1. แก้ความดันโลหิตสูง เอากระเทียมประมาณ 250 หัว แช่กับเหล้าขาว ประมาณ 1 ลิตร ใช้เวลานาน 6 อาทิตย์ รินเอาน้ำใสใส่ขวดใช้รับประทานครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ ตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง
  2. แก้โรคแผลเน่าเปื่อย เอากระเทียมมาขูดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบดให้ละเอียด นำมาพอกที่แผล ปิดผ้านาน 20 นาทีแล้วแก้ออก จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำที่สะอาด ทำเป็นประจำทุกเช้า-เย็น
  3. แก้โรคกลากเกลื้อน นำเอาใบมีดมาขูด หรือกีดผิวหนังที่เป็นกลาก เกลื้อน ให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมขยี้ หรือทา 5-10 ก็จะแห้งหายไป
  4. แก้ไขมันอุตตันในเส้นเลือด ใช้หัวกระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วใส่ในภาชนะที่เป็นไห หรือโหลไว้ใส่น้ำผึ้งชนิดบริสุทธิ์ลงผสมให้ท่วมหัวกระเทียม แล้วปิดฝาให้มิดชิดดองทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ กินก่อนนอน วันละ 3 หัวพร้อมน้ำยากินติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์
  5. ฆ่าเชื้อโรคภายในปาก ใช้กระเทียมบดให้ละเอียดแล้วคั้นกรองเอาน้ำ ออกใช้ผสมกับน้ำอุ่น 5 เท่า และผสมเล็กน้อย ใช้บ้วน กลั้วคอ ฆ่าเชื้อโรคในลำคอ ปาก ช่วยรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ และปากให้หายเหม็นได้
  6. แก้จุกเสียดแน่นอืดเฟ้อ เอากระเทียม 5-7 กลีบ บดละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลและเกลือนิดหน่อย ผสมให้เข้ากันและเอาน้ำดื่มกิน หลังอาหารทุกมื้อ ช่วยแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อยปวดท้อง เป็นต้น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
สารสกัดจากกระเทียมมีฤทธิ์เป็นantioxidant สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำร้อน มีฤทธิ์กดการสร้างภูมิคุ้มกันในหนูขาวจะเห็นว่ากระเทียมสามารถทำให้จำนวน เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นซึ่งฤทธิ์นี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของกระเทียม เมื่อให้จำนวนสูงมาก ก็จะทำให้หนูตะเภาตายภายใน 2-3 วัน และเมล็ดเลือดแดงจาก 5 ล้าน เป็น 3.5 ล้าน แต่ปริมาณเมล็ดเลือดขาวมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
หมายเหตุ : กระเทียมนอกจากใช้เป็นอาหารและเป็นยาแล้ว จะเห็นว่าปัจจุบันนี้กระเทียมยัง สามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้ด้วย

 

 

กะทกรก

กะทกรก

ชื่ออื่น ๆ : อังนก น้ำใจใคร่ สอกทอก จากกรด อีทก นางจุม นางชม ผักเยี่ยวงัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olax Scandens Roxb.
วงศ์
 :OLACACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นเป็นเถา ลักษณะลำเถามีหนามขึ้นห่างห่าง เนื้อไม้มีสีขาว
  • ใบ : ใบมีลักษณะปลายใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก เนื้อไม้บาง ลักษณะของใบคล้ายใบมะยม แต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบออกดกทึบ
  • ดอก : ดอกออกเป็นกระจุกตามบริเวณง่ามใบ ดอกมีขนาดสีขาว
  • ผล : ผลมีลักษณะรี หรือกลม มีขนาดเท่ากับเมล็ดบัว
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ เปลือก เมล็ด ราก ใบ
สรรพคุณ :
  • เนื้อไม้ มีรสชาติฝาดเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาคุมธาตุถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด รักษาบาดแผล
  • เปลือก นำมาต้มรมแผลที่เน่าเปื่อย ทำให้แผลแห้ง
  • เมล็ด ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืด ทำให้ผายลม วิธีใช้โดยการ ตำเมล็ดให้ละเอียด และผสมกับน้ำสับปะรดลนควันให้อุ่น
    และใช้ทาท้องเด็ก
  • ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กามโรค
  • ใบ นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อ ขับพยาธิ หรือตำให้ละเอียดเอากากสุมศีรษะ แก้ปวดศีรษะ

 

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

ชื่ออื่น ๆ : กุ่มน้ำ (ทั่วไป) รอถะ (ละว้า-เชียงใหม่) อำเภอ (สุพรรณบุรี) เหาะเถาะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva magna (Lour.) DC.
วงศ์ : CAPPARIDACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น: เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซม. มีความสูงประมาณ 4-20 เมตร
  • ใบ : ใบออกเป็นช่อ ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก หรือรูปขอบขนานปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ผิวเนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเทาอมน้ำตาล ใต้ท้องใบมีขนระอองเป็นสีเทา เส้นกลางเส้นใบเห็นได้ชัด มีสีค่อนข้างแดงขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-9 นิ้วก้านใบมีรอยเป็นร่องไปตามยาว ตรงปลายก้านจะมีต่อมสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1 มม. ขนาดของก้านยาวประมาณ 1.5-5.5 นิ้ว
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-6.5 นิ้ว ลักษณะของดอก มีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปไข่ หรือรูปรี ปลายกลีบแหลมเรียว มีขนาดยาวประมาณ2-3.5 มม. กว้างประมาณ 1.2-1.5 มม. สำหรับกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม รูปรีหรือรูปไข่ โคนกลีบกลมสอบแคบ ส่วนปลายกลีบจะมน กลีบดอกมีขนาดประมาณ 1.5-3 ซม. กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ ก้านเกสรมีสีม่วงมีทั้งหมดประมาณ 15-25 อัน
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปรี ผิวเปลือกหนามีสะเก็ดบาง ๆ ซึ่งจะเป็นสีเหลืองอมเทาขึ้นอยู่ทั่วไป ผลมีขนาดยาวประมาณ 5-8 ซม.
  • เมล็ด : เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีขนาดหนาประมาณ 2-3 มม. ยาวประมาณ 6-9 มม.
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก ดอก
สรรพคุณ :
  • ใบ มีกลิ่นหอม รสชาติขม ใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง ยาระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น โรคไขข้ออักเสบ เป็นอัมพาต ขับเหงื่อ ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงให้ทั่ว
  • เปลือก ใช้เป็นยาระงับพิษทางผิวหนัง เป็นยาบำรุง ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับน้ำดี ขับน้ำเหลืองเสีย และเป็นยาแก้อาเจียน เป็นต้น

 

 

 

กุ่มบก

กุ่มบก

ชื่ออื่น ๆ : กุ่ม (เลย) กุ่มน้ำบก (ชลบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva religiosa Forst. F.
วงศ์ : CAPPARIDACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร
  • ใบ : ใบออกเป็นช่อ ๆ หนึ่งมีราว 3 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่รีหรือรูปขอบขนานปลายใบแหลมเรียวมีติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เนื้อผิวใบบาง นิ่ม เส้นแขนงใบมี 7-11 คู่ จะเห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3.5-6.5 นิ้ว
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ แกนกลางช่อยาวประมาณ 3-5 ซม.ลักษณะของดอกมีกลีบรองเป็นรูปไข่ ปลายกลีบมน หรือแหลมรี มีขนาดยาวประมาณ 4-7 มม. กว้างประมาณ 1.5-3 มม. กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี ปลายกลีบแหลมมี 4 กลีบ กลีบล่างและบน อย่างละ 2 กลีบ กลีบบนจะใหญ่กว่ากลีบข้างล่าง ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้มี 13-18 อัน ก้านชูเกสรมีสีชมพู หรือสีม่วง
  • ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม หรือรูปไข่ ผลอ่อนพื้นผิวจะเรียบ พอแก้เต็มที่หรือแห้ง พื้นผิวมีสะเก็ดแบน ๆ เป็นสีเทาอมเหลือง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5.5-9.5 ซม. ยาวประมาณ 6-12 ซม.
  • เมล็ด : มีรูปลักษณะคล้าย ๆ รูปหัวใจ กว้างเพียง 5-17 มม. ยาว 10-19 มม.
ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น เปลือกราก ใบ ดอก ผล
สรรพคุณ :
  • เปลือกลำต้น ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อย ขับน้ำเหลือง ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาโรคนิ่ว และใช้ในขณะที่ถูกงูกัดจะช่วยลดพิษได้
  • เปลือกราก ใช้เป็นยาถูนวดให้โลหิตเลี้ยงได้สม่ำเสมอ
  • ใบ ใช้แช่หรือดองน้ำกิน แก้โรคท้องผูก แก้ลม ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อนบนผิวหน้า หรืออาจนำใบไปลนไฟให้ร้อนแล้วเอามาปิดหู ช่วยบรรเทาอาการปวด ปวดศรีษะและ โรคบิด
  • ดอก ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ผล เป็นยาแก้อาการท้องผูก

 

 

กูไฉ่

กูไฉ่

ชื่ออื่น ๆ: กูไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Chinese Chive
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottler
วงศ์ : ALLIACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ที่ปลูกมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน จะมีความสูงประมาณ 20-45 ซม. ทั้งต้นจะมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ใบ : จะออกจากโคนต้นเป็นเส้นแบน ยาว กว้างประมาณ 1.5-9 มิลลิเมตร ยาว 10-27 เซนติเมตร เป็นสีเขียวแก่ ขอบใบเรียบ ไม่มีขน ปลายใบแหลม ตัวใบเป็นมัน
  • ดอก : จะออกจากโคนต้น สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนบนดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบหุ้มช่อดอกเนเยื่อสีขาว มี 1-3 กลีบ ส่วนปลายแหลมดอกย่อยสีขาวมีกลีบอยู่ 6 กลีบ มีรูปกลมรี ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายของมันจะแหลมนมถึงแหลมมาก เรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น ก้านเกสรตัวผู้ยาวไม่เกินกลีบดอก เกสรตัวผู้มีจำนวน 6 อัน อับเรณูเป็นสีเหลือง มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่จะอยู่เหนือกว่าส่วนอื่น ของดอก ภายในจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
  • ผล : จะมีรูปทรงกลมรี เป็น 3 พู ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร
  • เมล็ด : ภายในเมล็ดจะเป็นสีดำ รูปทรงกลมรี แบน คล้ายรูปไต
  • ราก : รากมีลักษณะเป็นฝอย มีมาก โดยจะงอกแผ่กระจายไปรอบลำต้น ของมัน
  • เหง้า : จะอยู่ส่วยบนของลำต้นพองออกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นรูปกลมสีขาว มีจำนวน 1-3 อัน
ส่วนที่ใช้ :
  • ใบ เมล็ด เหง้า ใบ ใช้ใบสด เมล็ด ใช้สด และนึ่ง หรือคั่วให้สุกแล้วตากแห้ง ร่อนแยกเอาสิ่งเจือปนหรือเปลือกดำออกแล้คั่วให้เหลืองจการนั้นก็นำไปใช้ได้ เหง้า ใช้สด
สรรพคุณ :
  • ใบ จะมีกลิ่นฉุน รสร้อน ช่วยแก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ บวมเมื่อถูกกระแทก ปวดแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือดอาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด น้ำกามเคลื่อน หอบและเป็นยาขับถ่ายลม
    วิธีใช้ คือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วคั่นเอาน้ำกิน หรือใช้ผัดให้สุกเป็นอาหาร ใช้ภายนอก ใช้ตำให้ละเอียดคั่นเอาน้ำหยด หรือเอากากพอก หรือต้มเอาน้ำล้างแผล
  • เมล็ด จะมีกลิ่นฉุน รสเค็ม ใช้เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย ยาขับประจำเดือน แก้ปวดเอว บำรุงตับและไต เป็นระดูขาวขับประจำเดือน หนองใน ปัสาวะกระปริบกระปรอยและรดที่นอน
    วิธีใช้ คือใช้เมล็ดแห้งนำมาต้มกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงใช้ชงกิน หรือทำเป็นยาเม็ด ใช้ประมาณ 3-10 กรัม
  • เหง้า มีกลิ่นฉุน รสร้อน เป็นยาแก้เจ็นหน้าอก เป็นระดูขาว ขับสิ่งคั่งข้าง อาหารคั่งค้าง ขับประจำเดือน ไอเป็นเลือด ฟกช้ำ บวมเนื่องจกถูกกระทบกระแทก เป็นกลาก และยังทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วย
    วิธีใช้ คือ ใช้ต้มเอาน้ำกินใช้ภายนอก ก็โดยการตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา ปริมาณที่ใช้ ใช้สด 30-60 กรัม
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับบุคคลที่มีร่างกายอ่อนแอ และเป็นโรคผิวหนังที่มีแผลเป็นหนองเรื้อรัง หรือเป็นโรคตา
ตำรับยา
  1. หัวริดสีดวงทวารออกไม่หดเข้า ให้ใช้ใบสด ประมาณ 500 กรัม หั่นเป็นฝอยให้ละเอียดแล้วคั่วให้ร้อน แบ่งเป็น 2 ส่วน ใช้ผ้าห่อแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็น จะทำให้หัวริดสีดวงก็จะหดเข้า
  2. เป็นแผลมีหนองเรื้อรัง ให้ใช้ใบสด ๆ ตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณแผล
  3. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากการทำงานของกระเพาะอาหารทำงานผิดปรกติ ให้ใช้ใบสด แล้วนำมาคั่นน้ำออกจากใบใช้ประมาณ 60 มิลลิเมตร (1 ถ้วยชาใหญ่) ขิงสดคั่นเอาน้ำประมาณ 15 กรัม (ช้อนคาว) และน้ำนมสดจำนวน 1 แก้ว ให้ผสมกินกับน้ำอุ่น
  4. วิงเวียนหลังคลอดบุตรแล้ว ใช้ใบสด ๆ หั่นให้ละเอียดเอาใส่ขวด เติมน้ำสายชูร้อน ๆ ลงไป แล้วใช้ในการสูดดม
  5. ผิวหนังที่เป็นผื่นคัน ให้ใช้ใบสด ๆ และใบชะเอมจีนอย่างละ 15 กรัม ใช้ผัดหรือต้มกิน
  6. เมื่อมีอาการบวมฟกช้ำเนื่องจากหกล้มหรือถูกกระทบกระแทก ให้ใช้ใบสด ๆ ประมาณ 3 ส่วน ดินสอพอง 1 ส่วน บดให้ละเอียดจนเหลวข้น แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล ให้ทาวันละ 2 ครั้ง
  7. เป็นโรคบิดแบทเทียเรีย ให้ใช้ใบสด ๆ ผัด หรือต้มให้เละกิน
  8. เป็นแผลริดสีดวงทวาร ให้ใช้ใบสด ๆ ขนาดพอเหมาะเอาใส่น้ำต้มให้ร้อน แล้วรินใส่ภาชนะเพื่อให้ไอรมจนน้ำอุ่น หรือไม่ก็ให้ใช้น้ำต้มล้างแผล วัน 2-3 ครั้ง
  9. มีอาการมดลูกหย่อน ให้ใช้ใบสด ๆ ประมาณ 250 กรัม นำมาต้มเอาน้ำล้าง หรือประคบที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก
  10. เมื่อหูเป็นน้ำหนวก ใช้ใบสด ๆ นำมาคั้นเอาน้ำ แล้วใช้ชุบสำลี แล้วทาบริเวณหู หลัวจากที่ทำความสะอาดหูแล้ว
  11. ปวดแน่นบริเวณท้องน้อย ให้นำเอาส่วนที่เป็นเหง้าสดมาคั่นเอาน้ำ ต้มกับมันหมูกิน
  12. เมื่อมีร่างกายอ่อนเพลีย ให้ใช้ส่วนของเมล็ดประมาณ 2 ถ้วยชา ใส่น้ำ 17 ถ้วยชา แล้วต้มกับข้าวสารประมาณ 3 ถ้วยชา จากนั้นก็ให้รินเอาน้ำออกมาประมาณ 6 ถ้วยชา แล้วแบ่งกิน 3 ครั้ง
  13. เมื่อเลือดกำเดาออก ให้ใช้ส่วนที่เหง้าสดบดหรือตำพร้อมกับรากผักชี แล้วนำมาอุดรูจมูกด้านที่มีเลือดออก
  14. เป็นกลาก ให้ใช้ส่วนที่เป็นเหง้า คั่วให้ดำ แล้วบดให้ละเอียดนำผสมกับไขมันหมู ใช้ทาบริเวณที่เป็กลาก

 

ขนุน

ขนุน

ชื่ออื่น ๆ : มะหนุน(ภาคเหนือ ภาคใต้) ขะนู(ชอง-จันทบุรี) นากอ(มลายู-ปัตตานี) ขะเนอ(เขมร) เนน(ชาวบน-นครราชสีมา) นะยวยชะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)ซีคึย ปะหน่อย(กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน) ล้าง (เงี้ยว-ภาคเหนือ) ปอหล่อบิค (จีน) หมักหมี้(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ : Jack Fruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ : MORACEAE
  • ต้น: เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้น
  • ใบ : จะออกสวลับกัน และมีลักษณะกลมรียาวประมาณ 7-15 ซม. ตรงปลายใบของมันจะแหลมและสั้นฐานใบจะเรียว ใบอ่อนบางครั้งจะมีรอยเว้าเข้าลึก ๆ 2 รอย แบ่งใบออกเป็น 3 ส่วน หลังใบจะเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวคล้ายหนัง ก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 ซม. ใบนั้นจะหลุดร่วงง่าย
  • ดอก : จะออกเป็นช่อ และช่อดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน ส่วนช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่งหรือง่ามใบ เป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 ซม. และมีกาบหุ้มช่อดอกอยู่ 2 กลีบ ดอกย่อยนั้นจะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจากลำต้นและกิ่งก้านขนาดใหญ่
  • เมล็ด (ผล) : ผลจะเป็นผลรวม มีลักษระกลมยาวประมาณ 25-60 ซมม. ขนาดใหญ่และอาจหนักถึง 20 กก. ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดอาจจะมีสีเหลือง ถ้าสุกจะมีกลิ่นหอม
  • เปลือกนอก : จะเป็นตุ่มหนามเล้ก ๆ รูปหกเหลี่ยม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด จะพบปลูกตามสวนหรือบริเวณบ้าน
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ด ใบ ยาง แกนและราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • เมล็ด ให้ใช้ประมาร 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือจะกินเป็นขนมก็ได้
  • ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล
  • ใบแห้ง ให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผลใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง
  • ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง
  • แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
ตำรับยา
ให้ใชเมล็ด 60-240 กรัม หรือจะใช้เมล็ดนำมาต้มให้สุกกินหรือจะนำมาผสมกับน้ำหวานและกะทิกิน สำหับสตรีหลังคลอด ที่มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมใช้กินได้
หมายเหตุ : ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้ว ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย ผลสุก จะมีกลิ่นหอม เนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานรับประทานเป็นขนม เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อน ๆ ใบสด ใช้ต้มน้ำให้สัตว์กิน ช่วยขับน้ำนม และสามารถนำมาเผากับซังข้าวโพดและกะลามะพร้าวให้เป็นเถ้า ใช้เถ้ารักษาแผลที่เป็นแผลเรื้อรัง น้ำยาง จะมี resins ใช้เป็นสารเคลือบวัสดุหรือจะนำมาผสมกับยางไม้อื่นเพื่อทำตังดักนกก็ได้ นอจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาโรคซิฟิลิส และขับพยาธิ แกนไม้ ที่เราเรียกว่า กรัก ซึ่งเป็นไม้สีเหลืองเข้มออกน้ำตาล ทำให้ปลวกและราไม่ขึ้น สามารถทำ เฟอร์นิเจอรและอุปกรณ์หรือเครื่องดนตรีได้ดี ประโยชน์ในทางยา จะมีรสหวานชุ่ม ขม สามารถใช้บำรุงกำลังและบำรุงโลหิต ฝาดสมาน รักษาโรคกามโรค นอกจากนี้ยังสามารถนำมาย้อมผ้า โดยการใช้สารส้มเป็นตัวช่วยให้สีติดและทน ผ้าที่ย้อมจะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และยังเป็นยาระงับประสาทและโรคลมชัก
อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

 

ขอบชะนาง

ขอบชะนาง

ชื่ออื่น ๆ : ขอบชะนางขาว หนอนตายอยากขาว หนอนขาว (ไทยภาคกลาง) ขอบชะนางแดง หนอนตายอยากแดง หนอนแดง (ไทยภาคกลาง) หญ้าหนอนตาย (เหนือ) หญ้ามูกมาย (สระบุรี) ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouzolzia pentandra Benn.
วงศ์ : URTICACEAE
 
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป้นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า และเลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้น มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดง กับ ขอบชะนางขาว และมีลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม่ขีดไฟเล็กน้อย
  • ใบ : เป็นใบเดี่ยวจะออกสลับกัน รูปเป็น รูปปลายหอก ในขอบใบชะนางแดง ส่วนรูปใบของขอบใบชะยางขาว จะมีลักษณรูปค่อนข้างมนและกลม เส้นใบของทั้งสองชนิด จะเห็นเด่นชัดเป็น 3 เส้น ใบจะโตประมาณ 2 กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 1 นิ้วฟุต ส่วนสีและใบของต้นขอบชะนางจะสีม่วงอมแดง เฉพาะแผ่นใบนั้นสีจะเด่นชัดคือ หลังใบจะมีสีเขียวเข้มอมแดง ท้องใบจะเป็นสีแดงคล้ำ และสีของขอบใบชะนางเป็นสีขางอ่อน ๆ รวมทั้งชนิดจะมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ
  • ดอก : จะมีขนาดเล็ก และจะออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดงส่วนดอกของขอบชะนางขาวจะเป็นสีเขียวอมเหลือง
  • ผล : แห้งไม่แตกแบบ achene
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้ผล เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามเรือกสวนริมร่องและตามพื้นที่ร่มเย็นี่มีอิฐปูนเก่า ๆ หรือที่ผุพัง
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้นและดอก ใบสด เปลือกของต้น
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น นำมาปิ้งไฟและชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก
  • ต้นและดอก ใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาในปากไหปลาร้าที่หนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตาย
  • ต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและจะช่วยรักษาแผลด้วย
  • เปลือกของต้น ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมันทาริดสีดวง หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้เค็มนำมารักาาโรครำมะนาด ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด และขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน