ขิง
ชื่ออื่น ๆ : ขิงเผือก (เชียงใหม่) ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เกีย (จีน)
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinalis Roscoe.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinalis Roscoe.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทั่วไป
- ต้น: เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งเรียกว่าเหง้า ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. ลักษณะเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะกลมและแบน ลำต้นแท้จะมีลัษณะเป็นข้อ ๆ เนื้อในจะเป็นสีขาวหรือเหลืองอ่อน สุดท้ายของข้อนั้นจะเป็นยอดหรือต้นเทียมใหญ่เท่าแท่งดินสอดำ และกาบหรือโคนใบหุ้ม
- ใบ : เป็นชนิดใบเดี่ยว จะออกสลับกันเป็นสองแถว ก้านใบนั้นจะยาวห่อหุ้มลำต้น ใบเขียวยาวรูปหอก ฐานใบนั้นเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบ มีความกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. รูปใบคล้ายใบไพล
- ดอก : จะออกรวมกันเป็นช่อจากลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะแท่งขึ้นมาจากเหง้า มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ทุก ๆ ดอกมีกาบสีเขียวปนแดงลักษณะโค้ง ๆ ห่อรองรับ กาบนั้นจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะบานให้เห็นดอกในภายหลัง ดอกที่ปิดกันแน่นนั้นจะยาวประมาณ 5 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม.
- กลีบดอก : จะติดกันแน่นยาวประมาณ 2 ซม. และมีสีเหลืองออกเขียวส่วนกลีบรองดอกจะยาวประมาณ 2.5 ซม. เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ และมีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 ซม.ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกนั้น ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 3 กลีบ สามารถอุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนตรงปลายของกลีบจะผายกว้างออก
- เกสร : จะมีอยู่ 6 อัน เกสรตัวผู้ที่ฝ่อไปจีมีสีม่วงแดง และจะมีจุดสีเหลือง คล้ายลิ้น ตรงปลาย จะมนกลมสั้นกว่ากลีบดอก ส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นนั้นมีก้านเกสรตัวเมียอยู่ 1 อัน และมีอับเรณูล้อมรอบรังไข่ มีอยู่ 3 ห้อง
- เมล็ด (ผล) : จะมี 3 พู ภายในเมล็ด ผลจะกลม ผลโตและแข็งแรง วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.
- เหง้า : เมื่อแก้จะมีรสเผ็ดร้อนมก เนื้อเหง้าขิงสีเนื้ออมเหลือง ๆ
ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ผล ราก เหง้า เปลือกเหง้า น้ำมันระเหยใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
- ต้น ขับผายลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงไฟธาตุรักษานิ่ว คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา บิด ลมป่วง ท้องร่วงอย่างแรง อาเจียน
- ใบ ใช้ใบสด แล้วคั้นเอาน้ำกิน 15 มล. มีรสเผ็ดอาการชกช้ำจาการหกลมหรือกระทบกระแทก ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม รักษาโรคกำเดา นิ่ว คอเปื่อย เบาขัด ฆ่าพยาธิ ขับลมในลำไส้ และโรคตา
- ดอก ทำให้ชุ่มชื่น ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ รักษานิ่ว เบาขัด คอเปื่อย และบิด ผล รักษาอาการไข้ นอกจากจะใช้เดี่ยว ๆ แล้วขิงยังใช้ผสมในยารักษาต่าง ๆ คือ รักษามะเร็งกรามช้าง มะเร็งดอกบุก หนองใน ทำให้หญิงที่มีสามีแล้วแต่ไม่มีบุตรสามารถมีบุตรได้ ยาบำรุงน้ำนม เป็นยาอายุวัฒนะ บรรเทาอาการคอแห้ง เจ็บอก กระหายน้ำ ตามืด ตาฟาง ตาต้อกระจก วิงเวียนหัว รักษาโรคอันผูกหัวใจ โรคประสาทพิการ โรคทั้วปวง ปวดเอว
- ราก จะมีรสเผ็ดและขม ทำให้เนื้อหนังสดชื่น ขับลม ทำให้เสียงไพเราะ ช่วยให้หลอดคอโปร่ง ฆ่าพยาธิซึ่งเป็นตัวเชื้อโรค เจริญอาหาร รักษาบิดตกเป็นโลหิตดุจสีขมิ้น นิ่ว ไอ
- เหง้า ใช้ทั้งเหง้าแก่และเหง้าอ่อน ทำเป็นเครื่องเทศ เครื่องดื่ม กลยรส แต่งกลิ่น อาเจียน ไอ หอบ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ รักษาบิด และรักษาพิษจาก ปั้วแห่ (pinellia pedatisecta Schott) และ เทียงหน่ำแช (Arisaema consanguineum Schott) และ ปู ปลา นก และเนื้อสัตว์อื่นมีพิษ
- เปลือกเหง้า ใช้แห้งประมาณ 1.5-5 กรัม ต้มน้ำกิน รสฉุน ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาอาการท้องอืดแน่น อาการบวมน้ำใช้ภายนอก รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน และแผลมีหนอง น้ำมันระเหย ใช้ผสมเป็นน้ำเชื่อม อุ่นรับประทานครั้งละ 10-15 มล. ในเหง้าจะมีน้ำมันระเหยประมาณ 0.25-3% ซึ่งประกอบด้วย camphene,cinelo,pellandrene,linalool,zingiberene,borneol และพวกที่ทำให้มีรสเผ็ดร้อนนั้นได้แก่ Zingerone และ shogoal มีเม็ดสี แป้ง และ resin
1. รักษาอากราท้องอืดเฟ้อจุกเสียดและปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ 5 ก. เคี่ยวให้ข้นแล้วเอาพอก ตอนอุ่น ๆ เอาผ้ากอวปิดไว้ พอผ้าเย้นให้ทาใหม่อีกจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น หรือจะใช้เหง้าสดตำแล้วนำไปต้มกิน
2. รักษาอาการท้องขึ้นและปวดท้อง นำขิง 30 กรัม มาชงกับน้ำเดือดประมาณ 500 ซี.ซี. ชงแช่ทิ้งไว้นาน 1 ชม. แล้วกรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
3. รักษาโรคจุกเสียดทำให้หลับสบาย ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำเทเอนำรับประทาน
4. รักษาอาการไอและขับเสมหะ ให้ใช้เหง้าสด ประมาณ 60 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ใส่น้ำ
3 แก้ว นำไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว แล้จิบกินตอนอุ่น ๆ หรือใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจืบบ่อย ๆ
5.ปวดข้อ ใช้น้ำคั้นจากเหง้าสด ผสมกาวหนังวัว เคี่ยวให้ข้น พอกหรือใช้เหง้าสดนำมาย่างไฟ แล้วตำผสมน้ำมันมะพร้าวใช้ทา 6.ไอเรื้อรัง ใช้น้ำผึ้งประมาณ 500 กรัม แล้วน้ำที่คั้นจากเหง้าสดประมาณ 1 ลิตร มาผสมแล้วเคี่ยวในกระทะทองเหลือง ทำจนน้ำระเหยไปหมด แล้วจึงเอามาปั้นเป็นเม็ดเท่าพุทราจีน ใช้อมรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
7. โรคอหิวาตกโรค ปวดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ให้นำเหง้าสดประมาณ 500 กรัม ใส่น้ำ 7 แก้ว นำไปต้ม ใหเเหลือ 2 แก้ว แล้วแบ่งกินเป็น 3 เวลา
8. ผมร่วงเริ่วหัวล้าน ให้ใช้เหง้าสด นำมาผิงไฟให้อุ่นตำพอกบริเวณที่ผมร่วง วันละ 2 ครั้ง ราว ๆ สัก 3 วัน ถ้าเห็นว่าดัขึ้น อาจใช้พอกต่อไปสักระยะจนผมขึ้น
9. ไอจากการตรากตรำทำงานหนั ควรใช้น้ำผึ้ง และน้ำคั้นจากเหง้าสดอย่างละ 120 กรัม น้ำคั้นจากรากผักกาดหัวสดน้ำคั้นจกาลูกสาลี่สด และนมสด อย่าวละ 1 แก้ว ผสมกันนำไปเคี่ยวให้ข้น แล้วแบ่งรับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนคาว ครั้งละ 2 เวลา เช้า-เย็น
10. หนังมือลอกเป็นขุย ให้ใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น นำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง เอาแผ่นขิงที่แช่น้ำถูทา ตามบริวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง
11. จุกแน่นหน้าอก ให้ใช้เหง้าสด 500 กรัม คั้นเอาน้ำออกให้หมดเหลือแต่กากหมาด ๆ ห่ผ้าผิงไฟให้อุ่น นำมาบริเวณที่ปวดจนยาเย็น นำลูกประคบไปอุ่นแช่ น้ำขิง แล้วผิงไฟให้ร้อน แล้วนำมาประคบอีก จนกว่าจะรู้สึกสบายดีขึ้น
12. บาดแผลสด ให้ใช้เหง้าสด ล้างให้สะอาด นำมาตำเอาน้ำมา
13. แมลงเข้าหู ควรใช้น้ำที่คันจากเหง้าสดนำมาหยอดหู
14. โรคริดสีดวงทวารเรื้อรัง นำเหง้าที่ยังไม่ได้ปอกเปลือกเอามาหั่นเป็นมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วเอามาบดเป็นผง คั่วให้ดำ นำมาพอกที่หัวริดสีดวงทวาร ปิดยึดเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนที่
15. ปิวหนังเป็นปื้นแดงและปื้นขาว นำเหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่นถูทาบ่อย ๆ
16. แผลเริมที่บริเวรหลัง ให้ใช้เหง้า 1 หัว เอามาเผาจนผิวนอกเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออก เผาและปาดไปเรื่อย ๆ นำผงถ่านที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมู ทาบริเวณที่เป็น
17. หน้า แขนขาบวมน้ำ จุกแน่นหน้าอก ท้องอืด จุกแน่นบริเวณสะดือ ผะอืดผะอม อึดอัด ใช้โงวเกียพ้วย (Acanthopanax gracillistylus W.W. Smith) แห้งเปลือกรากและต้นเก๋ากี้ (Lycium chinense Mill.) แห้ง เปลือกเหง้า ขิงแห้ง ใยเปลือกลูกหมากแก่ เปลือกโป่ง รากสร (Poria cocos Wolf.) แห้ง ให้ใช้อย่างละ 3 กรัม นำมาผสมกันบดเป็นผง แบ่งกินครั้งละ 10 กรัม ใส่น้ำ 1 แก้วครั้ง ต้มจนเหลือ 1 แก้ว เทน้ำรับประทานแบบน้ำชา ในช่วงที่รับประทานยานี้ไม่ควรจะกินอาหารที่มีมันมาก ของเย็น หรือของแข็ง
18. ฟกช้ำจาการหกล้มหรือกระทบกระแทก ให้ใช้เหง้าสด นำมาผสมกับเหง้าพอก หรือใช้น้ำคั้นจากใบสด 1 ถ้วย ตังกุย (Angelica sinensin Diels.) ประมาณ 100 กรัม บดเป็นผง ผสมกับเหง้ากิน ติดต่อกันประมาณ 3 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น