ช้าพลู

ช้าพลู

ชื่ออื่น ๆ : ชะพลู (ไทยภาคกลาง), พลูลิง, ผักอีไร (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.
วงศ์ : PIPERACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ต้นเล็ก ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นจะเป็นข้อ ๆ
  • ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายใบพลูขนาดย่อม ใบจะเป็นสีเขียวแก่ และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ใบใช้กินเป็นผักได้
  • ดอก : ลักษณะดอกจะออกยาวเป็นปุ่ม ๆ คล้ายกับดอกดีปลี แต่จะสั้นกว่า
ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ต้น ใช้เป็นยารักษาเสมหะในทรวงอก
  • ใบ ทำให้เสมหะงวดแห้งและช่วยเจริญอาหาร
  • ราก ใช้รักษาคูถเสมหะ คือใช้ขับเสมหะให้ตกทางอุจจาระ นอกจากนี้รากยังใช้ปรุง เป็นยารักษาธาตุพิการ และธาตุน้ำพิการ บำรุงธาตุ
อื่น ๆ : ชะพลูมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดนี้เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะลำต้น ใบ ดอก และรสก็มีลักษณะ เดียวกัน แต่จะผิดกันตรงที่ลำต้นเป็นเถาเท่านั้น ส่วนคุณสมบัติในทางยาก็ใช้อย่างเดียวกัน ชนิดเถานี้เรียกกันว่า ชะพลูเถา (ไทยภาคกลาง) ปูริงนก ผักปูริง ผักอีเลิด (ภาคเหนือ)
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำและแฉะ โดยมากมักจะปลูกไว้รับประทาน ตามบ้านและมีขึ้นได้ทั่วไปทุกจังหวัดในประเทศไทย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น