ทับทิม

ทับทิม

ชื่ออื่น ๆ : มะเก๊าะ (ภาคเหนือ), มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน), หมากจัง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิลา (หนองคาย), เจียะลิ้ว (จีน)
ชื่อสามัญ : Punic Apple, Pomegranate, Granades, Granats, Carthaginian Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.
วงศ์ : PUNICACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือมีหนามแหลมยาวขึ้น
  • ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.8 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม.
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็นดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือสุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผลจะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
การขยายพันธุ์ : ทับทิม เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด มีการขยาย พันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด และเปลือกราก
สรรพคุณ :
  • เปลือกลำต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35-0.6% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้มีชื่อเรียกว่า Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งใช้เป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี
  • ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้ เป็นต้น
  • ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือดกำเดา แข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5-4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มกินน้ำ ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรคบิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิ ตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น
  • เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจากโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น
  • เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดู ขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง เป็นต้น
อื่น ๆ : ในประเทศอินเดียทางด้านแถบตะวันตกเฉียงใต้ ได้มีการใช้เปลือกผลทับทิม นำมา ย้อมผ้า ซึ่งใช้ผสมกับครามหรือขมิ้น จะได้สีผ้าที่ย้อมนั้นเป็นสีน้ำตาลอมแดง แต่ถ้าใช้เปลือกผลอย่างเดียวก็จะได้เป็นสีเขียว ผ้าที่ย้อมชนิดนี้เรียกว่า RAKREZI
ข้อห้ามใช้ :
  1. เป็นบิด ท้องเสีย หรือท้องผูก ไม่สมควรใช้เปลือกราก เป็นยาแก้
  2. การใช้เปลือกรากเป็นยาแก้ ควรจะใช้อย่างระมัดระวังให้มาก เพราะเปลือกรากมี พิษ
ถิ่นที่อยู่ : ทับทิม เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซีย

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น