เล็บมือนาง
ชื่ออื่น ๆ : มะจีมั่ง, จ้ามัง, จะมั่ง(เหนือ), วะดอนิ่ง (มลายู-ยาลา), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ชื่อสามัญ : Rangoon Creeper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quisqualis Indica Linn.
วงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะทั่วไป :
- ต้น : เป็นพรรณไม้เถาขนาดกลาง ที่แตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบและตามลำต้น หรือกิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุมอยู่แต่ต้นที่แก่ผิวจะเกลี้ยง หรือบางทีก็กลายเป็นหนามไปเลย ต้องหาหลักยืดหรือร้านให้ลำเถาเกาะยึด
- ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปมนขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบจักเว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือบางใบก็เป็นคลื่น ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้วยาว 3.6 นิ้วมีสีเขียว เนื้อบางและท้องใบจะมีขนปกคลุมจำนวนมาก
- ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกจะเป็นหลอดยาวมาก ยาวประมาณ 3-4 นิ้วตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบสีชมพู หรือสีแดงอมขาว หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก 5 อัน
- ผล : เป็นสัน และแข็ง สันมีอยู่ 5 สันผล โตประมาณ 0.5 นิ้วยาว 1-1.5 นิ้วมีสีดำ
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ ผล เมล็ด และราก
สรรพคุณ :
- ทั้งต้น แก้ตานขโมยพุงโร ขับพยาธิและตานทราง
- ใบ ตำพอกแก้บาดแผล แก้อักเสบ หรือทาแก้แผลฝี และถ้านำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะเป็นยาแก้ตัวร้อน แก้ปวดหัว ถอนพิษ แก้สารพัด แก้กาฬ แก้พิษสำแดงของแสลง
- ผล แก้อุจจาระเป็นฟอง เหม็นคาวในเด็ก และขับพยาธิไส้เดือน กินแล้วทำให้สะอึก
- เมล็ด เป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ 5-7 เม็ด เด็กใช้ 2-3 เม็ด ทุบให้แตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม
- ราก แก้อุจจาระเป็นฟอง เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน แต่ถ้าผสมกับสมุนไพรอื่น จะใช้แก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง แก้อุจจาระพิการ ริดสีดวง แก้ธาตุวิปริต แก้ตับทรุด เจริญอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น