ชะเอม

ชะเอม

ชะเอมไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่1 ต่อม ดอกอัดแน่น เป็นช่อกลม ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวยปลายแยก 5 แฉกเล็กๆ เกสรผู้จำนวนมากยาวยื่นพ้นกรวยดอก ดอกมีกลิ่นหอมผล เป็นฝักแบนยาว ปลายเรียว ฝักแก่สีน้ำตาลมีเมล็ด 5-8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์         Albizia myriophylla Benth
วงศ์                           LEGUMINOSAE
ชื่อท้องถิ่น                 โดยทั่วไปเรียกกันว่า ชะเอมป่า ส่วนทางภาคเหนือเรียก ส้มป่อยหวาน ตราดเรียก ตาลอ้อย
 ลักษณะของพืช
     ต้นชะเอมป่า เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งแต่เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ลักษณะใบชะเอมป่าเล็กเป็นฝอยละเอียด คล้ายกับต้นส้มป่อยต้นหยงหรือกระถิน ดอกสีขาวเป็นช่อลักษณะฟูดอกเล็กๆ ส่วนฝักนั้นมีลักษณะบิดงอมีหนามตามกิ่งก้านตลอดจนลำต้นด้วย ดอกมี ลักษณะพิเศษเพราะมีกลิ่นหอมส่วนเนื้อในของเนื้อไม้มีรสหวานแบบชะเอมจีน
 การปลูก
ต้นชะเอมป่านี้ปรากฏว่าชอบขึ้นอยู่ ตามเชิงเขา ป่าดงหรือในป่าไม้ เบญจพรรณ ปะปนอยู่กับพันธุ์ไม้ยืนต้นอื่นๆ แต่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยพบว่ามีขึ้นอยู่มากกว่าภาคอื่นๆ การปลูกต้องตอนเอากิ่งไปปลูกหรืออาจจะใช้เมล็ดเพาะก็ได้ กว่าจะเติบโตก็จะต้องดูแลให้ดีด้วยการพรวนดินใส่ปุ๋ย ไม่ให้วัชพืชมารบกวนความเจริญเติบโต
 สรรพคุณ
ราก-แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย เนื้อไม้-ขับเสมหะ แก้ไอ รักษา เลือดออกตามไรฟัน ดอก-ช่วยย่อยอาหาร
  • การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :
    1. ราก      - แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย
    2. เนื้อไม้   - ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน
    3. ดอก     - ช่วยย่อยอาหาร
รสและสรรพคุณ
ต้นหรือแก่นเอามาต้มดื่มแก้โรคในคอ แก้ไอ ทำให้ ชุ่มคอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ลม บำรุงธาตุ บำรุงกำลังและกล้ามเนื้อราก เอามาต้มดื่มเป็นยาระบายได้ดี ใบ เอามาต้มดื่มเป็นยาขับระดูในสตรีส่วนดอกเอามาต้มจิ้มน้ำพริกก็ได้ ต้มดื่มก็ดี ช่วย ย่อยขับเสมหะดีมาก

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น