ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่ออื่น ๆ : ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ขี้เหล็ก จีหรี่ (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Siamese cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea lamk. ( C. Florida vahl)
วงศ์ : CAESLPINIACEAE
ลักษณทั่วไป:
  • ต้น ขี้เหล้กเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  • ใบ : เป็นใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ คล้ายใบทรงบาดาลหรือใบของชุมเห็ดไทย
  • ดอก : จะออกเป็นช่อสีเหลืองสวย
  • ฝัก : มีลักษระแบนอวบและยาวประมาณ 15 ซม. คล้ายกับฝักแค
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ปลูกไม่ยาก ดดยใช้เมล้ดเพาะ เป็นพรรณไม้ที่พบอยู่ทั่วไปในประเทสไทย ศรีลังกา และมาเลเซีย นิยมปลูกไว้เป็นไม้ร่มตามริมถนน หรือตามบ้านเรือนและสวนทั่วไป ต่างประเทศสั่งซื้อพันธุ์ไปปลูกเป็นไม้ประดับ
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ใบอ่อน ดอก ฝัก ราก
สรรพคุณ :
  • ใบอ่อน พบว่ามีสารจำพวก chromone ซึ่งมีชื่อว่า barakol นอกจากนี้ใบสามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร และใช้หมักปุ๋ย manure ใช้บ่มมะม่วงเพื่อให้มะม่วงสุกเร็ว ก่อนที่จะมีการนำแก๊สมาใช้บ่มผลไม้ แล้วยังพบ alkaloid ซึ่งเป็นพิษต่อหนูในเมล็ดและใบ จากการที่เรานำมาบริโถคจุได้คุณค่าทางอาหารแล้ว ยังช่วยระบายขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ระดูขาวตกหนัก และยังรักษาอาการท้องผูก โดยต้มเอาน้ำดื่มก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้าหรือก่อนนอน
  • ดอก ในดอกมีสารอัลคลอลอยด์มีคุณสมบัติช่วยเป็นยาระบายในตัว
  • ฝัก ภายในจะมียาฝาดสมาน tannin ใช้รักษาท้องร่วงและยังมีสารจำพวก อัลคอลอลอยด์ ที่ช่วยระบายอ่อน ๆ ดังนั้น เราจึงใช้ฝักขี้เหล้กผสมในยาระบายดี เพราะช่วยระบายรู้จักปิด
  • ราก ใช้ผสมในยาขับพยาธิ และช่วยระงับอาการชักได้

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น