มะละขี้นก
ชื่อสามัญ : Bitter Cucumber, Bitter Gourd, Carilla Fruit.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่ออื่น ๆ ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก เป็นพวก cap root system มีรากแก้วแทงลงไปในดินและมีรากแขนงแตกออกไปจากรากแก้วอีก
ลำต้น ลักษณะเป็นเถาเลื้อยมีสีเขียวขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนอยู่ทั่วไป มีมือเกาะที่เจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับ
ใบ เป็น ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือมีสีเขียวอ่อน และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับกัน ก้านใบยาว ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4.5 – 11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5 – 10 เซนติเมตร เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกัน แล้วแตกออกเป็นร่างแห
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน อยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ
ดอกตัวผู้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 1.5 นิ้ว กลีบนอก 5 กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมี 5 กลีบ สีเหลืองสด เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันจะมีเรณูและก้านชูเกสรตัวผู้อย่างละ 3 อัน เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย
ดอกตัวเมีย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 1.5 นิ้ว มีรังไข่แบบ infarior ovary ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบใน 5 กลีบ สีเหลืองสด เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1 อัน stima 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน
ผล รูป ร่างคล้ายกระสวยสั้น ๆ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมี สีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกอ้าเป็น 3 แฉก ผลยาว 5 – 7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2 – 4 เซนติเมตร
เมล็ด เมื่อแก่เต็มที่มีเมือกสีแดงสดห่อหุ้มเมล็ดอยู่ เมล็ดมีรูปร่างกลม รี แบน ปลายแหลมสีฟางข้าว
สภาพแวดล้อมในการผลิต
ดิน สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ปลูกได้ผลดีที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย ซึ่งมีการระบายน้ำดีความ เป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลางแสงแดด ชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวันความชื้น ในดินสูงสม่ำเสมอเพียงพออุณหภูมิช่วงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง18 – 25 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การเตรียมดิน
แปลงปลูก มะระขี้นกเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรไถดินลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7 – 10 วันใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วเข้าไปให้มาก เพื่อปรับปรุงสภาพทางกายของดิน แล้วยกร่องเล็ก ๆ ยาวไปตามพื้นที่่ระบบปลูก นิยมระบบแถวคู่ระยะปลูก ระยะที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 50 – 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร
วิธีปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา
หยอดเมล็ดโดยตรงลงในแปลง หลุมละ 3 – 4 เมล็ด ลึกลงไปในดินประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ลบด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดินผสม รดน้ำให้ชุ่ม คลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งที่สะอาดให้หนาพอควร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง2 ใบ ถอนแยกต้นที่อ่อนแอไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือไว้หลุมละ 2 ต้นเมื่อมะระเริ่มเลื้อยหรือต้นมีอายุประมาณ 15 วัน
ควรทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยเกาะขึ้นไป อาจทำได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ปักไม้ค้างยาวประมาณ 2 – 2.5 เมตร ทุก ๆ หลุมแล้วเอนปลายเข้าหากัน ผูกมัดปลายไว้ แล้วใช้ไม้ค้างพาดขวางประมาณ 2 – 3 ช่วง
แบบที่ 2 ปักไม้ค้างยาวประมาณ 2 – 2.5 เมตร ทุก ๆ ระยะ 1.5 – 2 เมตร ขนานกับแถวปลูก ใช้เชือกผูกขวางทุก ๆ ระยะ 30 เซนติเมตร รวมทั้งผูกทะแยงไปมาด้วย (เมืองทอง, 2525)
การรดน้ำ รดเช้า-เย็น ควรให้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงกับเปียกแฉะ ไม่ควรขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงออกดอกติดผล
การพรวนดิน กำจัดวัชพืช ควรปฏิบัติในระยะแรก เมื่อต้นยังเล็กอยู่ เพื่อไม่ให้วัชพืช ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงระบบราก
การให้ปุ๋ย อายุประมาณ 15 วัน ควรให้ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต ประมาณ 5 ช้อนแกงต่อหลุม พรวนรอบ ๆ ต้นแล้วรดน้ำ
ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณของปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ใช้
โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด โรคเหี่ยว
แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ แมลงวันทอง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนเจาะเถา หนอนเจาะยอด
การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน เก็บผลที่ยังอ่อนอยู่
คุณค่าทางอาหาร
ได้มีการศึกษาคุณค่าทางอาหารของผล มะระขี้นก พบว่า ผลมะระขี้นก 100 กรัม มีส่วนประกอบดังนี้ (สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2540 และทศพร, 2531)
ความชื้น | 83.20 | กรัม |
พลังงาน | 17.00 | กิโลกรัม |
ไขมัน | 1.00 | กรัม |
เส้นใย | 12.00 | กรัม |
คาร์โบไฮเดรท | 9.80 | กรัม |
แคลเซียม | 3.00 | มิลลิกรัม |
โปรตีน | 2.90 | กรัม |
ฟอสฟอรัส | 140.00 | มิลลิกรัม |
เหล็ก | 9.40 | มิลลิกรัม |
วิตามินเอ | 2924.00 | IU |
วิตามินบี 1 | 0.09 | มิลลิกรัม |
วิตามินบี 2 | 0.05 | มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 0.40 | มิลลิกรัม |
ไทอามีน | 0.07 | มิลลิกรัม |
ไนอาซีน | 190.00 | มิลลิกรัม |
การปรุงอาหาร
คนไทยทุกภาครับประทานมะระขี้นกเป็นผัก ไม่นิยมรับประทานสด เพราะมีรสขม โดยเฉพาะผลจะขมมาก วิธีปรุงเป็นอาหาร
โดยการนึ่งหรือลวกให้สุกก่อนและรับประทานเป็นผักจิ้ม รวมกับน้ำพริกหรือป่นปลาของชาวอีสาน หรืออาจนำไปผัดหรือแกงร่วมกับผักอื่นได้
การนำผลมะระขี้นกไปปรุงเป็นอาหารอื่น เช่น ผัดกับไข่ เป็นต้น นิยมต้มน้ำและเทน้ำทิ้ง 1 ครั้งก่อนหรือการใช้วิธีคั้นกับน้ำเกลือ
เพื่อลดรสขมลงก็ได้
ราก แก้ พิษ รักษาริดสีดวงทวาร ฝาดสมาน แก้พิษดับร้อน แก้บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อนเถา ยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อและเท้าบวม แก้ปวดตามข้อมือและนิ้วมือนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง แก้พิษน้ำดีพิการ ลดเสมหะ บำรุงน้ำดี แก้พิษดับร้อน แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้
ใบ แก้ ไข้ ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อยเป็นขุย ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ขับลม แก้ธาตุไม่ปกติ ทำให้นอนหลับ แก้ปวดศีรษะ แก้พิษ แก้ไอเรื้อรัง ยาระบายอ่อน ๆ แก้เสียดท้อง บำรุงธาตุ ขับพยาธิเส้นด้าย ดับพิษฝีที่ร้อน รักษาแผล บำรุงน้ำดี แก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน ยาฟอกเลือด แก้ร้อนใน แก้ม้าม แก้ตับพิการ แก้ฟกบวมอักเสบ แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ ทำให้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ แก้บิด แผลฝีบวมอักเสบ เจริญอาหาร ฟอกโลหิต รัดถานและถอนไส้ฝี
ดอก แก้พิษ แก้บิด
ผล แก้ พิษฝี แก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้โรคลมเข้าข้อ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู ดับพิษร้อน ถ่ายท้อง แก้พิษ ขับลม แก้คัน แก้ธาตุไม่ปกติ แก้เสียดท้อง แก้เจ็บปวดอักเสบ ระบายอ่อนๆ แก้บวม แก้โรคผิวหนัง บำบัดโรคเบาหวาน ยาบำรุง ทาหิด ฝาดสมาน แก้โรคเม็ดผดผื่น คันในตัวเด็ก แก้พิษไข้ แก้หัวเข่าบวม แก้ปวดตามข้อ แก้ม้าม แก้ตับพิการ เจริญอาหาร ใช้มากๆ เป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาโรคเรื้อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดเจ็บอักเสบจากพิษต่างๆ ดับร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวม เป็นหนอง ต้านมะเร็ง
เมล็ด แก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้านมะเร็ง
ทั้งห้า บำรุงน้ำดี ดับพิษทั้งปวง เจริญอาหาร บำรุงน้ำนม แก้ไข้
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
ผลสด ตำรับประทานครั้งละ 6-15 กรัม หรือผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอก ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอก
เมล็ดแห้ง 3 กรัม ต้มน้ำดื่มใบสด 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือใบแห้งบดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอกต้มเอาน้ำชะล้าง
พอกหรือคั้นเอาน้ำทารากสด 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างเถาแห้ง 3-12 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก
ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอก
ประโยชน์ทางยา
- ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา นอกจากนี้น้ำต้มผลมะระ สามารถลดการเกิด ต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้
- รักษาโรคเอดส์ต้านเชื้อ HIV (ไมตรี, 2542) ใช้ผลอ่อนทำเป็นน้ำคั้น หรือบดเป็นผงใส่แคปซูล หรือยาลูกกลอน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีกว่ากินสดหรือต้ม แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB 30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้
- ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (แสงไทย, 2544) สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง คือ guanylate cyclase inhibitor สกัดได้จากผลสุก MAB 30 สกัดจากเนื้อผลสุกและเมล็ด momorchrin สกัดจากเมล็ด ผลและเมล็ดต้มน้ำดื่ม
- ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกไม่จำกัดจำนวน ใช้ประกอบเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง
- ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ใบสดมะระขี้นก 20-30 ใบ หั่นใบชงด้วยน้ำร้อนเติมเกลือ เล็กน้อย ช่วยกลบรสขม ดื่มแต่น้ำ ใช้ได้ดีสำหรับถ่ายพยาธิเข็มหมุด นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม
- ทำให้อาเจียน ใช้เถาสด 1/3 กำมือ หรือ 6-20 กรัม เติมน้ำพอท่วมต้มให้เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ
- รักษาชันนะตุและศีรษะเป็นเม็ด ผื่นคัน ใช้ผลสดที่ยังไม่สุกหั่นเนื้อมะระแล้วตำคั้นเอาแต่น้ำ เติมดินสอพองลงในพอสมควร ใช้ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ (ดารณี, 2544)
- เป็นยาแก้ไข ใช้ผลมะระต้มน้ำแล้วดื่ม อาการตัวร้อนจะหายไป
- แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันนำไปตากให้แห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชา ก็ได้
- แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก
- แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าอื่น แก้ฝีบวมอักเสบใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก
- แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก
- แก้คัน แก้หิด และโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น