ข้าว
ชื่ออื่น ๆ : ข้าวเจ้า ข้าวเนียว (ภาคกลาง) ข้าวนึ่ง (ภาคเหนือ) ข้าวเหนียวปั้ว ข้าวคอแร้ง (อ่างทอง) ข้าวไข่แมงดา บือถู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตั่วบี่ แกบี้ (จีน)
ชื่อสามัญ : Rice Plamt
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa Linn.
วงศ์ : GRAMINEAE
ชื่อสามัญ : Rice Plamt
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa Linn.
วงศ์ : GRAMINEAE
- ต้น : ข้าวเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้าล้มลุก เป็นพรรณไม้น้ำลำต้นนั้นภายในจะกลวงและเป็นข้อมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ส่วนมากจะขึ้นในโคลนที่เป็นดินเหนียว
- ใบ : ลักษณะของมันบางแคบและยาวประมาณ 30-60 ซม. กว้างประมาณ 0.6-2.5 ซม. เส้นใบกลางนั้นเราจะเห็นได้ชัดตรงปลายใบแหลมและโคนใบที่หุ้มรอบลำต้นนั้นยาว ประมาณ 0.8-2.5 ซม. ส่วนผิวใบและขอบใบนั้นจะมีขนสั้น ๆ ทั้ง 2 ด้าน
- ดอก : จะออกเป็นช่อดอรวม ซึ่งเรียกว่ารวงข้าว ดอกกลมรียาวประมาณ 6-8 ซม. ดอกที่ไม่ติดผลนั้นมันจะฝ่อและลีบเป็นหนามแหลม ส่วนดอกย่อยจะมีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อันและอับเรณูยาวราว 2 มม. ก้านเกสรตัวเมียมีอีก 2 อัน ลักษณะนั้นคล้ายนก ช่อด้านถ้าแก่จัดจะงอลง
- เมล็ด (ผล) : เป็นรูปไข่ปลายแหลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2-3 มม. ยาวประมาณ 0.6-1.5 ซม. เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวถ้าสุกเต็มที่มีสีเหลืองทอง เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นในเมืองร้อน
ส่วนที่ใช้ : ข้าวงอก ข้าวที่ราลง เมล็ด ต้นอ่อนของข้าวเหนียว ต้นและรากข้าวเหนียว ลำต้นและใบ (ฟาง) น้ำซาวข้าว น้ำข้าว รำแกลบ ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
- ข้าว เป็นอาหารหลักของคนตะวันออก นำมาต้มหรือคั่วกินใช้ประมาณ 30-60 กรัม มัรสชุ่ม ให้พลังงาน บำรุงกาย กระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้แก้ท้องร่วง บิด
- ข้าวเหนียว ใช้ต้มกิน บดเป็นผงหรือทำรูปให้เป็นเม็ดกินจะบดเป็นผงผสมใช้ทาภายนอกรักษาเหงื่อออกมาก ผิดปรกติและอาการท้องร่วงหรือบิด ให้พลังงาน บำรุงร่างกาย
- รากข้าวเหนียว นำไปต้มน้ำกินใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม มีรสชุ่ม ช่วยกระตุ้นน้ำลายและละลายเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้เหงื่อออกมาก
- ข้าวที่ราลง (ข้าวดอกกระถิน) ใช้นักษาม้าที่เจ็นคอเปนอัมพาต เอาข้าวที่ราลงเผาให้เป็น ถ่านแล้วบดเป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าให้ม้ากิน เป็นข้าวที่มีพิษ ถ้ากินมากอาจตายได้
- ต้นอ่อนข้าวเหนียว นำไปต้มน้ำกินใช้แห้งประมาณ 10-30 กรัม ทำให้ย่อยอาหาร ช่วยหล่อลื่นลำไส้และช่วยลดเสมหะ บรรเทาอาการไอที่ไม่รู้สาเหตุ
- น้ำข้าว ใช้กินได้ตอนอุ่น ๆ พอสมควร มีรสชุ่ม บรรเทาอาการร้อนและกระหายน้ำ หรืออาเจียนเป็นเลือด ตาแดง เลือดกำเดาออกง่าย ไม่มีพิษ สามารถขับปัสสาวะได้
- น้ำซาวข้าว กินได้พอสมควรหรือผสมน้ำอุ่นกิน มีรสชุ่มเย็น บรรเทาอาการร้อนแลกระวนกระวานหรือกระหายน้ำ รักษาอหิวาตกโรค อาหารที่ไม่ย่อยและแก้พิษได้ โดยการกินน้ำซาวข้าว 1 แก้ว และป็นน้ำซาวข้าวที่ไม่เป็นพิษ
- รำข้าว อุดมไปด้วยวิตามินบี สามารถนำมาต้มกินได้พอสมควรอาจจะทำเป็นเม็ดหรือนำมาบดเป็นผงกิน รสชุ่มมีกลิ่นฉุนใช้บำบัดโรคเหน็บชาหรือสะอึกและช่วยหล่อลื่นลำไส้ จะช่วยย่อยและเจริญอาหารเป็นรำข้าวที่ไม่มีพิษ
- ข้าวงอก (rice malt) ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหารเพราะในข้าวงอกมีน้ำย่อยแป้ง ใช้แห้ง 10-15 กรัม นำไปต้มกิน
- แป้งข้าวเจ้า นำไปใช้พอกเพื่อบรรเทาอาการอักเสบในไฟลามทุ่ง (erysipelas) และผิวหนังน้ำร้อนลวกกริผื่นแสบร้อนที่ผิวหนัง ผดผื่นคันเล็ก ๆ น้อย ๆ ความชุ่มชื่นและอ่อนนุ่มของข้าวช่วยลดการระคายเคืองด้วย
- ฟาง นำไปต้มกินหรือเผาให้เป็นเถ้าใช้ละลายน้ำถิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วรินเอาน้ำมา ใช้ ใช้เฉพาะภายนอต้มน้ำชะล้าง มีรสชุ่ม สามารถขับลมและทำให้เรอ รักษาอาการท้องอืดแน่นปวดท้อง ท้องร่วง กระหานน้ำ ริสีดวงทวาร ดีซ่าน และแผลที่เกิดจากไฟหรือน้ำร้อนลวก
ตำรับยา
- รักษาพิษจากสารหนู (arsenic) นำฟางไปเผาเป็นเถาแล้วนำไปแช่น้ำ ผสมกับผงครามที่ได้จากพรรณไม้ 10 กรัม กินได้
- อาเนียดเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล ใช้น้ำข้าวซ้อมมือมา 1 แก้วนำมาอุ่นกิน หรือจะใช้น้ำข้าวผสมกับน้ำมันพืชหรือน้ำที่คั้นได้จากหัวผักกาดขาวใช้หยอด จมูก
- บำรุงม้าม ช่วยย่อยและทำให้เจริยอาหาร กระตุ้นน้ำภายหลังฟื้นไข้ ใช้ข้าวงอก 120 กรัม ลูกเร่วดง (Amomum villosum Lour.) แปะชุก (Atractylodes macrocephala Koidz.) นำไปคั่วอย่างละ 30 กรัมแล้วบดเป็นผงผสมน้ำร้อนกินแทนน้ำชาหรือทำเป็นยาเม็ดกินได้
- รักษาโรคเหน้บขา โดยการนำรำข้าวใหม่ปราศจากเชื้อราลงมา 5 ถ้วยชา แล้วใส่น้ำพอประมาณนำไปต้มให้เดือดเทกากทิ้ง เทน้ำที่ต้มได้นำไปต้มกับข้าวกินเป็นประจำ
- เป็นฝีบนหัวเด็ก ให้ใช้ข้าวเหนียวสุกที่เผาจนเป็นถ่านบดเป็นผงให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมันทาเฉพาะส่วนที่เป็นฝี
- บิดถ่ายเป็นโลหิต นำฟางที่ตากแห้งเผา เอาไปแช่น้ำอุ่นพออุณหภูมิ 35C แล้วสวนล้าง
- ทำเป็นยาช่วยให้เกิดการอาเจียน โดยการเอาฟางที่เผาแล้วนำไปผสมกับน้ำอุ่นกิน อาจจะอาเจียนเอาตัวพยาธิไส้เดือนที่อยู่ในกระเพาะอาหารติดออกมาด้วย
- แก้อาการสะอึก ลำคอตีบตัน กินไม่ลง นำรำข้าวใหม่ที่ไม่มีเชื้อราลง เอาไปผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดขนานเท่าลูกมะยม แล้วอมไว้ครั้งละ 1 เม็ด
- ถ้าปวดเอว ควรใช้ข้าวเหนียวประมาณ 1-2 ถ้วยชา นำไปคั่วจนร้อนแล้วเอาใส่ถุงประคบตามที่ปวด หรือบดเป็นผงผสมกับลุกโป้ยกั๊ก (illicium verum Hook. F.) หรือเหล้าและเกลือกินได้
- บรรเทาการกระหายน้ำ หรือเหงื่อที่ออกมาผิดปกติเอารากข้าวเหนียวที่เผาออกมาเป็นเถ้านำไปแช่น้ำ กิน หรือจะใช้ไส้ตรงข้างในลำต้นเอาเฉพาะส่วนเนื้อทีฟ่ามสีขาว เอาเผาเป็นเถ้า แช่น้ำไว้ 1 แก้ว เพื่อเทเอาน้ำกิน
- ใช้เป็นยาระบาย โดยนำรำข้าวมา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำอีก 1 แก้ว ต้มจนเดือดแล้วยกลงตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วคนให้ทั่วกิน
- กินเนื้อวัวมากเกินไป ทำให้คลิ่นไส้ รู้สุกจุกแน่นหน้าอกและเบื่ออาหาร ร่างหายจะเหลืองซีดและผอม ให้นำฟางที่แห้งแล้วมาประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำตาลทรายประมาณ 3 กรัม ต้มมกับน้ำใช้กินได้
- ตาแดง ให้ใช้น้ำข้าวผสมกับผงเก๊กฮวยแล้วให้กินก่อนนอน จะทำให้ตาแดงหายเป็นปกติ
- ตับอักเสบชนิดที่ติดต่อได้ ให้ใช้ฟางที่ตากแห้งผสมกับโพวกงเอง (Taraxacum mongolicum Hand.-Mazz) ใช้ชนิดละ 60 กรัม ต้มกับน้ำใช้กินได้
- ผิวหนังอักเสบเนื่องจากการทำนา ให้ใช้ฟางและสารส้มปริมาณเท่ากัน แล้วหั่นฟางต้มกับน้ำให้เดือดนาน 30 นาที ก่อนใช้อีก 30 นาที แล้วใส่สารส้มลงไปสามารถนำไปแช่เพื่อชะล้างภายนอก
- กินยามากเกินไปจนเกิดอาการแพ้ยา หรือโดนพิษจนเกิดอาการกระวนกระวาย ควรใช้ข้าวดิบแช่ในน้ำเทน้ำดื่มได้ประมาณ 5 ถ้วยชา
- ปัสสาวะเป็นหนอง ให้ใช้ฟางที่ตากแห้งต้มกับน้ำแล้วคั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จึงนำมากิน
1. ฟางข้าวเหนียว ใช้รักษาตับอักเสบได้ดีควรใช้ประมาณ 100 กรัม ลงในน้ำ 1 ลิตร ควรใช้ไฟแรง ๆ ต้มจนเหลือประมาณ 200 มล. แบ่งกินได้ 2 ครั้ง ปรกติคนใช้ยากินติดต่อกันนาน 25-30 วัน จกสถิติคนไข้ 43 ราย รักษาได้ผลดีมาก และอาการตับโตจะลดลง และตับก็จะทำงานได้ตามปรกติ 35 ราย เฉลี่ยแล้วจะต้องรักษาตัวอยู่ในดรงพยาบาลเพียง 40.2 วัน และอีก 7 วัน อาการดีขึ้นเหมือนกันแต่ตับโตเหมือนเดิมมและทำงานไม่ปรกติดีเท่าไหร่ ส่วนอีก 1 ราย ไม่ได้ผล จากการเปรียบเทียบยานี้กินแล้วเกิดอาการเบื่ออาหาร ไม่ชอบจำพวกไขมันและรูสึกอ่อนเพลีย หลังกินยานี้ 13 วัน อาการเจ็บที่ตับจะลดลง หลัง 20.1 วัน อาการตับโตจะลดลงเฉลี่ยแล้ว 28.2 วัน และอากรร่างกายเหลืองจะหายเฉลี่ยแล้ว 10.9 วัน ส่วนการรักษาโดยใช้ฟางข้าวเหนียว 50 กรัม จากสถิติคนไข้ 30 ราย ได้ผลดีบางรายกินแล้ว 2 วัน ปัสสาวะมากและเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีใสขึ้นและเจริญอาหาร ส่วนคนไข้หายเร็วที่สุด ใช้เวลาแค่ 7-10 วัน และอาการร่างกายเหลืองก็จะลดลงใช้เวลาแค่ 7-12 วัน
2. รากข้าวเหนียว ให้ใช้รักษาโรคพยาธิในต่อมน้ำเหลือง (Filariasis malayi) ตัวอย่างโรคพยาธิเท้าช้าง จะใช้รากข้าวเหนียวต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครัง และการใช้รากสดปริมาณต่าง ๆ กันคือ 30 60 120 240 500 และ 1000 กรัม ต้มน้ำกินภายในระยะเวลา 3-10 วัน คิดเป็น 1 รอบ จากสถิติคนไข้ 389 ราย มีอาการดีขึ้นเป็นจำนวน 80% แลผลทดลองครั้งแรกให้กินวันละประมาณ 30-60 กรัม ติดต่อกัน 10 วันจะได้ผลดี เนื่องรักษานานมากไป ถ้าใช้ปริมาณวันละ 1000กรัม ติดต่อกันอีก 2 วัน จะเกิดดีเหมือนกัน บางรายจะมีอาการเปรียบเทียบคือ รู้สึกปวดหัว วิงเวียน หนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัด ที่ต่อมน้ำเหลืองบวมแข็งฉะนั้นควรกินประมาณวันละ 250-500 กรัม กินติดต่อกันอีกประมาณ 5 วัน จะดีขึ้นและไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการรักษา และจากผลทดลองให้กินยา ติดต่อกันอีก 2-3 วัน คนไข้ 18 ราย มีอาการบวมเพราะจากต่อมน้ำเหลืองที่แขนและขาหนีบอุดตัน จะมีผลหายขาด คิดว่ายาชนิดนี้มีผลฆ่าพยาธิได้อย่างหนึ่ง ส่วนรากข้าวเหนียวสด 125 กรัม ใช้ต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครั้ง ทำติดต่อกันราว 20 วัน คิดเป็น 1 รอบ จากการรักษาหรือนานกว่านี้ก็ได้ จากสถิติคนไข้ 8 ราย เป็นโรคพยาธิในต่อมน้ำเหลือง จะมีปัสสาวะเป็นไขมันติดมามีสีขาวข้นคล้ายน้ำนม (Chyluria) จะได้ผลหาย 4 ราย อาการดี 3 ราย และอีก 1 ราย ไม่ได้ผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น