คนทีเขมา
ชื่ออื่น ๆ : กูนิง (มาเลเซี – นราธิวาส), กุโนกามอ (มาเลเซีย – ปัตตานี), หวงจิง (จีนกลาง),อึ่งแกง (แต้จิ๋ว) Negundo Chest Nut
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex negundo Linn.
วงศ์ : VERBENACEAE
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex negundo Linn.
วงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะทั่วไป
- ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 6 เมตร
- กิ่ง : กิ่งนั้นจะมีกลิ่นหอม ส่วนกิ่งอ่อนจะเป็นเหลี่ยม มีสีเทาและจะมีขนอ่อนปกคลุมด้วย
- ใบ : ใบจะมีกลิ่นหอมเหมือนกิ่ง แต่ใบจะออกตรงกันข้าม ใบนั้นจะเป็นใบรวม มีลักษณะคล้ายรูปมือ และจะประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 5 หรือ 3 ใบ ตรงปลายใบของมันจะยาวแหลมยาว ขอบใบ นั้นจะเรียบหรือมีรอยหยักเล็กน้อย หลังใบจะมีสีเขียวเข้ม และตรงท้องใบจะมีสีขาวปกคลุมด้วย ขนอ่อน
- ดอก : ดอกจะมีขนาดเล็กมีอยู่เป็นจำนวนมาก จะออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงปลายยอด
- ผล : มีลักษณะกลม แห้งเปลือกแข็ง มีสีน้ำตาล รูปกลมรี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 มม.
ส่วนที่ใช้ : เปลือก ใบ ผล ช่อดอก และราก ใช้ทำเป็นยา
สรรพคุณ :
- ใบ ใช้ผสมในน้ำอาบ เพื่อให้มีกลิ่นหอม หรือจะใช้ทาหน้าผาก รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไข้หวัด เจ็บคอ ไอ โรคปวดตามข้อ หูอื้อ รักษาบิดไม่มีตัวลำไส้อักเสบ รักษาไข้มาลาเรีย ดีซ่าน บวมฟกช้ำ กลาก เกลื้อน ฝี เชื้อรา ที่ เท้า บาดแผลจากของมีคม สุนัข หรือตะขาบกัด ไล่แมลง
- ผล ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาไข้หวัด หอบหืด ได เหน็บชา รักษาไข้มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย (typhoid fever) ปวดท้องโรคกระเพาะ กระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ฝีคัณฑสูตร
- ช่อดอก ใช้เป็นยาลดไข้ ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย
- ราก ใช้เป็นยารักษาไข้หวัด ขับเสมหะ ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ รักษาโรคไข้มาเลเรีย โรคปวดตาม ข้อ โรคกระเพาะอาหาร ขับพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด)
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา
ตำรับยา
1. โรคใข้มาลาเรีย ให้ใช้ใบสดประมาณ 180 กรัม ใส่น้ำให้ท่วมแล้วนำไปต้ม ใช้ไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้ ข้น จนเหลือราว ๆ ถ้วยครึ่ง แล้วแบ่งรับประทานครึ่งหนึ่งก่อนมีอาการหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้กินส่วนที่เหลือหรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรับ ต้มกับน้ำกินก่อนมีอาการราว ๆ 3 ชั่วโมง
2. โรคไข้รากสาดน้อยและไอ ให้นำผลประมาณ 3-10 กรับ นำมาคั่วอย่าให้ไหม้เพราะจะทำให้ยาไม่มีฤทธิ์ แล้วต้มน้ำกิน
3. ไข้หวัด ลำไส้อักเสบ บิดไม่มีตัว ให้ใช้ใบสดประมาณ 30-40 ใบ หรือประมาณ 10 กรัม นำไปต้มกับน้ำกินวันละ 3 เวลา
4. ปวดท้องโรคกระเพาะ ให้ใช้ผลที่แห้งแล้วประมาณ 3-10 กรัม นำมาบดให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นเม็ดใช้กิน
5. กระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังให้ใช้ผลที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัม นำมาต้มน้ำหรือบดเป็นผงกิน หรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรัม ให้น้ำตาลแดง ปริมาณพอควรต้มน้ำกิน
6. ฝีคัณฑสูตร ให้ใช้ผลที่แห้งแล้วประมาณ 15 กรัม แล้วนำมาคั่วบดเป็นผง หรืออาจจะใช้เหล้าเล็กน้อยนำมาผสมกิน ตอนท้องว่าง
7. หอบหืด ให้ใช้ผลแห้งประมาณ 501 ลุกหรือจะใช้ประมาณ 6-15 กรัม นำมาบดเป็นผง แล้วใส่น้ำตาลทรายจำนวนพอควร แล้วชงน้ำกินวันละ 2 เวลา
8. แผลผุพองจากไฟไหม้ ให้กำกิ่งที่แห้งแล้ว มาคั่วอย่าให้ไหม้ แล้วบดเป็นผงนำมาผสมกับน้ำมัน ใช้ทาบริเวรที่เป็นแผล
9. เชื้อราที่เท้า ให้ใช้ใบสดตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นเชื้อรา
10. โรคปวดตามข้อ ให้ใช้กิ่งสดประมาณ 15 กรัม นำมาต้มน้ำ แล้วแบ่งกิน 2 เวลา เช้า – เย็น
11. ไล่แมลง ให้ใช้ใบแห้งปูรองเมล็ดพืชกันแมลงรบกวน
12. ขับพยาธิเส้นด้าย ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำมาคั่วกับเหล้าให้หวานจนเป็นสีเหลือง แล้วใส่น้ำประมาณ 2 ถ้วย ต้มให้เหลือเพียง 1 ถ้วย ใช้กินก่อนอาการค่ำ
13. บาดแผลจากของมีคม สุนัขหรือตะขาบกัด ให้ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น