ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

ชื่ออื่น ๆ : หมากกะลิงเทศ, ลับมืนหลาว, ขี้คาก (ภาคเหนือ), ชุมเห็ดใหญ่, ชุมเห็ดเทศ (ไทยภาคกลาง), ส้มเห็ด (เชียงราย), ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จุมเห็ด(มหาสารคาม), ตุ๊ยเฮียะเต่า, ฮุยวิจวบักทง (จีน)
ชื่อสามัญ : Ringworm Bush, Candelabra Bush,Seven Golden Candle-stick.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia alata Linn.
วงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาวในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม.
  • ใบ : เป็นใบประกอบขนนก มีความยาวประมาณ 30-60 ซม. ใบย่อยจะเรียงกันเป็นคู่ ๆ 8-20 คู่ ลักษณะใบย่อยนั้นจะรูปขอบขนานแกมรูปรี โคนใบจะมน ตรงปลายใบของมันมนหรือเว้าเล็กน้อย ฐานใบนั้นจะมนและไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ขอบใบเรียบเป็นสีแดง ใบจะมีความกว้างประมาณ 5-7 ซม. และยาวประมาณ 5-15 ซม. ก้านใบย่อยสั้นมาก
  • ดอก : จะออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 20-50 ซม. ดอกจะเป็นสีเหลือง ดอกตูมนั้นคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน สีเขียวตรงปลายของมันจะแหลม ส่วนก้านดอกนั้นจะสั้นและมีลายเส้นเห็นได้ชัด
  • เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 9-10 อัน แต่มีความยาวไม่เท่ากัน อับเรณูเมื่อแก่จะมีรูเปิดที่ยอด ส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่ 1 อัน ผิวเกลี้ยง
  • เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝัก แต่ไม่มีขน ฝักเป็นรูปบรรทัด หนามีความกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. และยาวประมาณ 10-15 ซม. จะมีปีกอยู่ 4 ปีก มีความกว้างประมาณ 5 มม. ตามความยาวของฝัก ฝักที่แก่จะเป็นสีดดำและแตกตามความยาว แนวปีกอันหนึ่ง ในฝักหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 50-60 เม็ด เมล็ดนั้นจะแบนลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีความกว้างประมาณ 5-8 มม. และยาวประมาณ 7-10 มม. ผิวนอกนั้น จะขรุขระเป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด และรากใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น ใช้ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายพิษตานทรง รักษาซาง โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะรักษา ฟกบวม รักษาริดสีดวง ดีซ่าน และฝี
  • ต้น ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด และกลางเกลื้อน รักษากษัยเส้น ขับพยาธิ และขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก และทำให้หัวใจเป็นปรกติ
  • ใบ จะมีกลิ่นฉุน ต้มน้ำกินเป็นยาระบาย อมบ้วนปากและใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตามผิว หนัง รักษากลากเกลื้อน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน เส้นประสาทอักเสบ รักษากษัยเส้นขับปัสสาวะ และรักษากระเพาะอาหารอักเสบ
  • ดอก ใช้ 1 ช่อ ต้มน้ำกินเป็นยาระบาย ทำให้ผิวหนังดีมีสี มีใย ฝัก ใช้ผสมกับยารักษากลาก และเป็นยาขับพยาธิ
  • เมล็ด ใช้รักษาอาการท้องผูก รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ
  • ราก ใช้ผสมยาบำรุงธาตุ ปัสสาวะเหลือง โรคตาเหลือง ใช้ต้มกินเป็นยารักษาตกมูกเลือด ทำให้เจริญอาหาร และมีคุณสมบัติเป็นยารักษาหิดและสิว โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิตามผิวหนัง เป็นยาระบายท้อง รักษาท้องผูก ถ่ายเสมหะ รักษากษัยเส้นและขับปัสสาวะ ทำให้หัวใจเป็นปกติ
อื่น ๆ : พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้ที่ไม่ต้องการการเอาใจใส่เลย ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้โตขึ้นเอง
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปในประเทศไทย ทั้งบนและที่ราบหรือบนเขาสูงถึง 1,500 ม. ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื่น ไม่ชอบที่ร่ม ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
ข้อมูลทางคลีนิคและเภสัชวิทยา :
1. สารสกัดจากใบและฝักจะมี anthraqninone glycosides ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค
2. สารสกัดจากใบ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอก (sarcoma) ในหนูเล็ก โดยการฉีดเข้าที่ขาก็จะมีอาการระคายเคืองที่บริเวณที่ฉีด
3. สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ใช้กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ หลอดลม หลอดเลือด กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และมดลูก ทำให้มีการบีบตัวแรงขึ้น แต่ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขยายตัว
4. สารสกัด Glycoside จากใบมีฤทธิ์ใช้กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การหดตัวแรงขึ้น แต่ไม่เปลี่ยนอัตราการเต้น ถ้าหัวใจเต้นช้ามาก ๆ จะเกิดอาการหัวใจหยุดเต้นในท่าบีบตัว (Systolic Arrest)
5. มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารเล็กน้อย
6. ไม่มีฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อลาย
7. กดการทำงานของประสาทส่วนกลาง
8. ใช้กระตุ้นการหลั่งปัสสาวะ
9. สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่สามารถทำให้เกิดโรคในพืชคือ Agrobacterium tumefacines
10. น้ำมันที่สกัดจากใบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
11. สารสกัดของใบ ด้วยแอลกอฮอล์ประมาณ 95% สามารถฆ่าเชื้อ Bacillus subtilis, Serratia marcescens, Staphylococcus aureus
12. สารสกัดจากน้ำของใบชุมเห็ดเทศ จะมีความเข้มข้นประมาณ 5% และสามารถฆ่าเชื้อ Trichophyton mentagrophytes ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลาก
ตำรับยา :
ใช้ใบตำพอก เพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้น หรือจะใช้ใบผสมกับน้ำปูนใสหรือเกลือหรือน้ำมันตำพอก รักษากลาก แมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง นอกจากนี้ยังใช้ใบตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมน้ำปูนใสทาหรือผสมวาสลิน ใช้ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น