ถอบแถบเครือ

ถอบแถบเครือ

ชื่ออื่น ๆ : ขางน้ำครั่ง, ขางแดง, ขางขาว, ขี้อ้ายเครือ (ภาคเหนือ), ทอบแทบ, จำเพาะ, กะลำเพาะ (ไทยภาคกลาง), เครือไหลน้อย (เชียงราย), ลาโพ, หมากสง (ภาคใต้), ไม้ลำเพาะ, ลำเพาะ, ตอนตีน (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Connarus semidecandrus Jack.
วงศ์ : CONNARACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้เถา หรือพรรณไม้พุ่มเลื้อย กิ่งก้านที่อ่อนจะมีขน
  • ใบ : จะเป็นใบประกอบ และมีใบย่อยประมาณ 3-7 ใบ ลักษณะของใบนั้น จะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ตรงปลายใบจะทู่หรือเรียวแหลม ส่วนโคนใบนั้นจะสอบแคบ หรือมน ขอบใบจะเรียบ เนื้อใบนั้นค่อนข้างหนาและมันคล้ายแผ่นหนังใบจะมีความยาวประมาณ 4-25 ซม. และกว้างประมาณ 2-9 ซม. เส้นใบจะมีประมาณ 4-12 คู่
  • ดอก : จะออกเป็นช่อ ตรงปลายยอด ช่อดอกนั้นจะมีความยาวประมาณ 35 ซม. และจะมีขน เป็นสีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีสนิมเหล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกนั้นจะมีอยูประมาณ 5 กลีบ จะมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี ตรงปลายนั้นทู่ หรือแหลม ด้านนอกจะมีขนนุ่ม ส่วนด้านในนั้นจะเกลี้ยง และกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นรูปหอก หรือรูปขอบขนานแคบด้านนอกจะเกลี้ยง แต่ตรงขอบและตรงปลายนั้น มักมีต่อม
  • เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 10 อัน สั้น 5 อัน และยาว 5 อัน ส่วนรังไข่นั้นจะมีประมาณ 5 ช่อง และมีขนนุ่มหนาแน่น
  • เมล็ด(ผล) : ผลจะมีลักษณะเปลือกบาง ด้านนอกจะเกลี้ยง ส่วนด้านในจะมีขนนุ่ม และโคนมัน สอบเข้าหาก้าน เมื่อผลนั้นแก่จัดจะปริแยกออกจากกันทางด้านข้าง ผลโตประมาณ 1-2 ซม. และยาวประมาณ 1.5-3.5 ซม. มีก้านยาวประมาณ 5-15 มม. ภายในจะมีเมล็ดเพียง 1เมล็ด ตรงโคนจะมีเนื้อสีเหลืองหุ้ม
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นและใบ ต้นอ่อน ใบ ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้นและใบ ใช้เป็นยารักษาพิษตานซางและไข้ เป็นยาระบาย ขับพยาธิ ต้นอ่อน ใช้กินเป็นผัก
  • ใบ ใช้ต้มกินรักษาโรคเจ็บหน้าอก
  • ราก เข้ายารักษาไข้
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักจะพบตามป่าดิบ หรือ ป่าผลัดใบ หรือตามริมฝั่งแม่น้ำ ป่าละเมาะ ป่า แพะ และตาที่รกร้างว่างเปล่าที่มีระดับความสูงประมาณ 0-1,000 ม. และมักจะออกดอกราว ๆ เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และออกผลเดือนเมษายน-มิถุนายน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น