เลี่ยน

เลี่ยน

ชื่อที่เรียก
ดอกเลี่ยน
ชื่ออื่นๆ
เลี่ยน, เลี่ยน Lian, เคี่ยน Khian (Central); เกรียน Krian (Northern); เลี่ยนใบหใญ่ Lian bai yai (Central); เฮี่ยน Hian (Northern), ดอกเลี่ยน,ต้นเลี่ยน,ใบเลี่ยน,ผลเลี่ยน,รากเลี่ยน,เกรียน,เคี่ยน,เฮี่ยน
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
ไม้ ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็นร่องตามยาว ลำต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียวอ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกใหญ่ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด

ส่วนที่ใช้
ส่วนทั้ง 5
ประโยชน์
 ทุก ส่วนของต้นเลี่ยน รสขม เมา แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อนและกุดถัง ทำให้ผิวหนังดำเกรียมแล้วลอกเป็นขุย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • ยาง - แก้ม้ามโต
  • เมล็ด - แก้ปวดในข้อ
  • ผล - แก้โรคเรื้อนและฝีคันทะมาลา
  • ดอก - แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำคั้นจากใบ - ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว บำรุงโลหิต ประจำเดือน
  • ดอกและใบ - พอกแก้ปวดศีรษะ ปวดประสาท
  • เปลือกต้น - รักษาเหา

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น