บัวบก
บัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L). Urb.
วงศ์ Umbelliferae
ชื่อพ้อง -
ชื่ออื่นๆ ผักแว่น ผักหนอก ประหนะ เอขาเด๊าะ asiatic pennywort
สารออกฤทธิ์ asiatic acid, madecassic acid (1) และ asiaticoside (1, 2)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแผลในช่องปาก
ฟ
1. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
ดูรายละเอียดในแก้เจ็บคอ
2. ฤทธิ์สมานแผล
สารสกัด 95% เอทานอลจากใบ ขนาด 1 มล./กก. พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจน เมื่อให้ทางปากและทาที่แผลของหนูขาว (3) สารสกัดจากบัวบก (titrated extract) ซึ่งประกอบด้วยสาร asiatic acid, made cassic acid และ asiaticoside มีฤทธิ์สมานแผลในหนูขาว โดยจะเร่งการสร้าง connective tissue เพิ่มปริมาณคอลลาเจน และกรด uronic (1) เมื่อ นำสารสกัดมาใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาแผลในหนูขาว พบว่าทำให้แผลหายเร็วขึ้น โดยทำให้มีการกระจายตัวของหนองในบาดแผล และแผลมีขนาดเล็กลง แต่ถ้าใช้รับประทานจะไม่ได้ผล (4) ขณะที่รายงานบางฉบับพบว่า เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดในขนาดวันละ 100 มก./กก. มีผลในการรักษาแผลโดยทำให้การสร้างผิวหนังชั้นนอกเร็วขึ้น และบาดแผลมีขนาดเล็กลง (5) ครีม ขี้ผึ้งและเจลที่มีสารสกัดน้ำจากบัวบก 5% เมื่อใช้ทาที่แผลของหนูขาว 3 ครั้ง/วัน นาน 24 วัน พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจนและเพิ่ม tensile strength ซึ่งสูตรที่อยู่ในรูปเจลจะให้ผลดีกว่าขี้ผึ้งและครีม (6)
สาร asiaticoside มีฤทธิ์สมานแผล เร่งการหายของแผลเมื่อทดลองในหนูขาว (7-9) หนูถีบจักร (10, 11) และในคน (12) เมื่อให้สาร asiaticoside ขนาด 1 มก./กก. ทางปากแก่หนูตะเภาและใช้ทาที่ผิวหนังในหนูตะเภาปกติและหนูขาวที่เป็นเบาหวานซึ่งแผลหายช้า ที่ความเข้มข้น 0.2% และ 0.4% ตามลำดับ พบว่ามีผลเพิ่ม tensile strength เพิ่มปริมาณของคอลลาเจน และลดขนาดของแผล (2) tincture ที่มี asiaticoside เป็นส่วนประกอบ 89.5% จะเร่งการหายของแผล เมื่อใช้ทาที่แผลของหนูตะเภา (13)
สำหรับการทดลองในคน มีรายงานว่าครีมที่มีสารสกัดอัลกอฮอล์จากบัวบกเป็นส่วนประกอบ 0.25-1% สามารถช่วยรักษาและสร้างผิวหนังในคนสูงอายุ (14) ครีมที่มีสารสกัดจากบัวบก 1% สามารถรักษาแผลอักเสบและแผลแยกหลังผ่าตัดในผู้ป่วยจำนวน 14 ราย ภายใน 2-8 สัปดาห์ โดยพบว่าได้ผลดี 28.6% ผลปานกลาง 28.6% และผลพอใช้ 35.7% ไม่ได้ผล 1 ราย (15, 16) และรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วยจำนวน 22 ราย ภายใน 21 วัน พบว่าขนาดของแผลจะลดลง มีแผลหายสนิท 17 ราย ยังไม่หายสนิท 5 ราย (17) tincture ที่อยู่ในรูป aerosol ซึ่งมี asiaticoside 89.5% เมื่อใช้ฉีดที่แผลของผู้ป่วยซึ่งเป็นแผลชนิดต่างๆ จำนวน 20 ราย พบว่าสามารถรักษาแผลหายได้ 16 ราย (64%) และทำให้อาการดีขึ้น 4 ราย (16%) โดยมีอาการข้างเคียงคือ การไหม้ของผิวหนัง (burning sensation) (18) เมื่อให้ผู้ป่วยที่เป็น post-phlebitic syndrome รับประทานสารสกัด triterpenoid ในขนาด 90 มก./วัน นาน 3 สัปดาห์ พบว่าจะลดการเพิ่มจำนวนของ circulating endothelial cell (18)
3. ฤทธิ์แก้ปวด
สารสกัด 60% เอทานอลจากใบ ขนาด 20 มก./กก. (19) และสารสกัด 95% เอทานอลจากทั้งต้น ขนาด 100 มก./กก. (20) มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูขาวและหนูถีบจักร แต่สารสกัด 50% เอทานอลจากทั้งต้นในขนาด 125 มก./กก. ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร (21)
4. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
ดูรายละเอียดในแก้เจ็บคอ
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
ดูรายละเอียดในแก้ไข้
จะเห็นว่าบัวบกมี ทั้งฤทธิ์ต้านการอักเสบ สมานแผล แก้ปวด และฆ่าเชื้อ ผู้ป่วยสามารถใช้ใบขยี้ทาหรือตำพอกได้ แต่ต้องระมัดระวังในการล้างแผลให้สะอาด และสีเขียวของใบอาจจะบังสีหนอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น