กูไฉ่

กูไฉ่

ชื่ออื่น ๆ: กูไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Chinese Chive
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottler
วงศ์ : ALLIACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ที่ปลูกมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน จะมีความสูงประมาณ 20-45 ซม. ทั้งต้นจะมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ใบ : จะออกจากโคนต้นเป็นเส้นแบน ยาว กว้างประมาณ 1.5-9 มิลลิเมตร ยาว 10-27 เซนติเมตร เป็นสีเขียวแก่ ขอบใบเรียบ ไม่มีขน ปลายใบแหลม ตัวใบเป็นมัน
  • ดอก : จะออกจากโคนต้น สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนบนดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบหุ้มช่อดอกเนเยื่อสีขาว มี 1-3 กลีบ ส่วนปลายแหลมดอกย่อยสีขาวมีกลีบอยู่ 6 กลีบ มีรูปกลมรี ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายของมันจะแหลมนมถึงแหลมมาก เรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น ก้านเกสรตัวผู้ยาวไม่เกินกลีบดอก เกสรตัวผู้มีจำนวน 6 อัน อับเรณูเป็นสีเหลือง มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่จะอยู่เหนือกว่าส่วนอื่น ของดอก ภายในจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
  • ผล : จะมีรูปทรงกลมรี เป็น 3 พู ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร
  • เมล็ด : ภายในเมล็ดจะเป็นสีดำ รูปทรงกลมรี แบน คล้ายรูปไต
  • ราก : รากมีลักษณะเป็นฝอย มีมาก โดยจะงอกแผ่กระจายไปรอบลำต้น ของมัน
  • เหง้า : จะอยู่ส่วยบนของลำต้นพองออกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นรูปกลมสีขาว มีจำนวน 1-3 อัน
ส่วนที่ใช้ :
  • ใบ เมล็ด เหง้า ใบ ใช้ใบสด เมล็ด ใช้สด และนึ่ง หรือคั่วให้สุกแล้วตากแห้ง ร่อนแยกเอาสิ่งเจือปนหรือเปลือกดำออกแล้คั่วให้เหลืองจการนั้นก็นำไปใช้ได้ เหง้า ใช้สด
สรรพคุณ :
  • ใบ จะมีกลิ่นฉุน รสร้อน ช่วยแก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ บวมเมื่อถูกกระแทก ปวดแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือดอาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด น้ำกามเคลื่อน หอบและเป็นยาขับถ่ายลม
    วิธีใช้ คือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วคั่นเอาน้ำกิน หรือใช้ผัดให้สุกเป็นอาหาร ใช้ภายนอก ใช้ตำให้ละเอียดคั่นเอาน้ำหยด หรือเอากากพอก หรือต้มเอาน้ำล้างแผล
  • เมล็ด จะมีกลิ่นฉุน รสเค็ม ใช้เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย ยาขับประจำเดือน แก้ปวดเอว บำรุงตับและไต เป็นระดูขาวขับประจำเดือน หนองใน ปัสาวะกระปริบกระปรอยและรดที่นอน
    วิธีใช้ คือใช้เมล็ดแห้งนำมาต้มกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงใช้ชงกิน หรือทำเป็นยาเม็ด ใช้ประมาณ 3-10 กรัม
  • เหง้า มีกลิ่นฉุน รสร้อน เป็นยาแก้เจ็นหน้าอก เป็นระดูขาว ขับสิ่งคั่งข้าง อาหารคั่งค้าง ขับประจำเดือน ไอเป็นเลือด ฟกช้ำ บวมเนื่องจกถูกกระทบกระแทก เป็นกลาก และยังทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วย
    วิธีใช้ คือ ใช้ต้มเอาน้ำกินใช้ภายนอก ก็โดยการตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา ปริมาณที่ใช้ ใช้สด 30-60 กรัม
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับบุคคลที่มีร่างกายอ่อนแอ และเป็นโรคผิวหนังที่มีแผลเป็นหนองเรื้อรัง หรือเป็นโรคตา
ตำรับยา
  1. หัวริดสีดวงทวารออกไม่หดเข้า ให้ใช้ใบสด ประมาณ 500 กรัม หั่นเป็นฝอยให้ละเอียดแล้วคั่วให้ร้อน แบ่งเป็น 2 ส่วน ใช้ผ้าห่อแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็น จะทำให้หัวริดสีดวงก็จะหดเข้า
  2. เป็นแผลมีหนองเรื้อรัง ให้ใช้ใบสด ๆ ตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณแผล
  3. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากการทำงานของกระเพาะอาหารทำงานผิดปรกติ ให้ใช้ใบสด แล้วนำมาคั่นน้ำออกจากใบใช้ประมาณ 60 มิลลิเมตร (1 ถ้วยชาใหญ่) ขิงสดคั่นเอาน้ำประมาณ 15 กรัม (ช้อนคาว) และน้ำนมสดจำนวน 1 แก้ว ให้ผสมกินกับน้ำอุ่น
  4. วิงเวียนหลังคลอดบุตรแล้ว ใช้ใบสด ๆ หั่นให้ละเอียดเอาใส่ขวด เติมน้ำสายชูร้อน ๆ ลงไป แล้วใช้ในการสูดดม
  5. ผิวหนังที่เป็นผื่นคัน ให้ใช้ใบสด ๆ และใบชะเอมจีนอย่างละ 15 กรัม ใช้ผัดหรือต้มกิน
  6. เมื่อมีอาการบวมฟกช้ำเนื่องจากหกล้มหรือถูกกระทบกระแทก ให้ใช้ใบสด ๆ ประมาณ 3 ส่วน ดินสอพอง 1 ส่วน บดให้ละเอียดจนเหลวข้น แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล ให้ทาวันละ 2 ครั้ง
  7. เป็นโรคบิดแบทเทียเรีย ให้ใช้ใบสด ๆ ผัด หรือต้มให้เละกิน
  8. เป็นแผลริดสีดวงทวาร ให้ใช้ใบสด ๆ ขนาดพอเหมาะเอาใส่น้ำต้มให้ร้อน แล้วรินใส่ภาชนะเพื่อให้ไอรมจนน้ำอุ่น หรือไม่ก็ให้ใช้น้ำต้มล้างแผล วัน 2-3 ครั้ง
  9. มีอาการมดลูกหย่อน ให้ใช้ใบสด ๆ ประมาณ 250 กรัม นำมาต้มเอาน้ำล้าง หรือประคบที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก
  10. เมื่อหูเป็นน้ำหนวก ใช้ใบสด ๆ นำมาคั้นเอาน้ำ แล้วใช้ชุบสำลี แล้วทาบริเวณหู หลัวจากที่ทำความสะอาดหูแล้ว
  11. ปวดแน่นบริเวณท้องน้อย ให้นำเอาส่วนที่เป็นเหง้าสดมาคั่นเอาน้ำ ต้มกับมันหมูกิน
  12. เมื่อมีร่างกายอ่อนเพลีย ให้ใช้ส่วนของเมล็ดประมาณ 2 ถ้วยชา ใส่น้ำ 17 ถ้วยชา แล้วต้มกับข้าวสารประมาณ 3 ถ้วยชา จากนั้นก็ให้รินเอาน้ำออกมาประมาณ 6 ถ้วยชา แล้วแบ่งกิน 3 ครั้ง
  13. เมื่อเลือดกำเดาออก ให้ใช้ส่วนที่เหง้าสดบดหรือตำพร้อมกับรากผักชี แล้วนำมาอุดรูจมูกด้านที่มีเลือดออก
  14. เป็นกลาก ให้ใช้ส่วนที่เป็นเหง้า คั่วให้ดำ แล้วบดให้ละเอียดนำผสมกับไขมันหมู ใช้ทาบริเวณที่เป็กลาก

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น